19 ธันวาคม 2552

แนวคิดการตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย

แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ ๕ แนวคิด ได้แก่


๑.แนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในบริเวณตอนกลางของจีน

๒.แนวคิดชนชาติไทยเป็นเชื้อสายมองโกลถิ่นเดิมอยู่แถบภูเขาอัลไต

๓.แนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในบริเวณตอนใต้ของจีน

๔.แนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซีย

๔.แนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน



เรื่องความเป็นมาของชนชาติไทย

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ ประวัติศาสตร์ของไทยในเอเซียอาคเนย์ จึงได้เริ่มจดบันทึกเป็นหลักฐานแน่นอนโดยคนไทยมาแต่ยุคนั้น แม้ตำนานของไทยเผ่าต่าง ๆ จะกล่าวย้อนหลังไป ก่อนตั้งจุลศักราช (พ.ศ. ๑๑๘๒) บ้าง แต่ก็ไม่อาจยึดถือศักราชเป็นของแน่นอนได้ เรื่องราวของไทยเผ่าต่าง ๆ พอจะยึดเป็นหลักได้ก็ประมาณ พ.ศ. ๑๗๕๐ เป็นต้นมา ฉะนั้น เรื่องของชนชาติไทยก่อนหน้านั้น ยิ่งนานขึ้นไปเท่าใด ก็เป็นเรื่องสันนิษฐานมากยิ่งขึ้นไปตามลำดับ การเคลื่อนย้ายของชนชาติไทยมีหลายความเห็นเช่น

ความเห็นที่ ๑

ไทยอพยพจากเหนือลงใต้ มีความเห็นว่า ไทยอพยพจากภูเขาอัลไตในใจกลางทวีปเอเชียลงมายังน่านเจ้า แล้วอพยพต่อลงมายังประเทศไทย นักประวัติศาสตร์บางคนไม่เชื่อในความเห็นนี้

ความเห็นที่ ๒

ไทยพร้อมกับพวกฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซียอพยพจากเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาถึงประเทศไทย แล้วเลยต่อขึ้นไปถึงจีน เรื่องนื้มีทฤษฎีภาษาศาสตร์ของ เบเนดิกส์ สนับสนุนอยู่ เช่น คำว่าฟิลิปปินส์ ปะตาย แปลว่า ตาย อากู แปลว่า กู คาราบาวแปลว่า กระบือ เป็นต้น นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ วิธีการของเบเนดิกส์ เพราะนำภาษาปัจจุบันของฟิลิปปินส์มาเทียบกับไทย แทนที่จะสานคำกลับไปว่า เมื่อ ๑๒๐๐ ปีมาแล้ว คำไทยควรจะเป็นอย่างไร และคำฟิลิปปินส์ควรจะเป็นอย่างไร แล้วจึงนำมาเทียบกันได้

ความเห็นที่ ๓

ไทยอยู่ในประเทศไทยมาหลายพันปี และมีคนไทยกระจายอยู่ทั่วไปในอินเดีย พม่า จีน ไทย ลาว และ เวียดนาม บางคนถือว่าบ้านเชียงก็เป็นคนไทย แต่ยังไม่มีผู้ใดเคยพิสูจน์ว่า วัฒนธรรมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงเหมือนกับวัฒนธรรม ของคนไทยในปัจจุบันเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงอ้างความเห็นของกอร์แมนว่า โครงกระดูกคนบ้านเชียงคล้ายกับกระดูกมนุษย์ที่อยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิก อีกประการหนึ่ง จารึกในแหลมทองเป็นอักษรมอญ ภาษามอญมาจนถึงประมาณ พ.ศ.๑๗๓๐ ไม่เคยมีจารึกภาษาไทยเขียนด้วยอักษรใด ๆ ก่อนจารึก พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเลย

ความเห็นที่ ๔

ปัจจุบันนักภาษาศาสตร์และ นักประวัติศาสตร์ นานาชาติส่วนใหญ่สนับสนุนความเห็นของศาสตราจารย์ เก็ดนีย์ว่า ถิ่นกำเนิดของภาษาไทยอาจจะอยู่ตามเส้นเขตแดนระหว่างมณฑลกวางสีของจีนกับ เมืองแถง หรือเดียนเบียนฟูในเวียดนาม หรือไม่ก็อยู่ ข้างบนหรือข้างล่างใกล้เส้นแบ่งเขตแดนนี้ ศาสตราจารย์เก็ดนีย์อาศัยทฤษฎีว่า ภาษาเกิดที่ใด จะมีภาษาท้องถิ่นมากหลายชนิดเกิดขึ้นแถบบริเวณนั้น เพราะอยู่มานานจนแตกต่างกันออกไป พวกจ้วงที่อยู่ในกวางสีห่างกันเพียง ๒๐ กิโลเมตร ยังพูดกันไม่รู้เรื่อง แต่ภาษาถิ่นต่าง ๆ ของลาว ไทยและพม่า ไม่ค่อยแตกต่างกัน ยังฟังกันรู้เรื่อง ภาษาอังกฤษในเกาะอังกฤษมีภาษาถิ่นมากมาย แต่ในสหรัฐอเมริกาพูดกันเข้าใจทั้งทวีป

งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย

เรื่องความเป็นมาของชนชาติไทย ในสมัยโบราณนั้น เท่าที่ทราบกันส่วนมากยังเป็นตำนานเก่าแก่หรือนิยายปรำปรา เล่าสืบต่อกันมา ไม่ใคร่มีหลักฐานแน่ชัด เช่นกล่าวว่าคนไทยเคลื่อนย้ายลงมาจากดินแดนจีนตอนใต้ คือ จากมณฑลฮุนหนำ กุยจิ๋ว และกวางไส ส่วนที่เป็นมาก่อนหน้านั้นยังไม่กระจ่าง เนื่องจากไทยเราไม่มีบันทึกเรื่องราวดังกล่าวไว้ ซึ่งอาจจะไม่มีมาแต่เดิม หรือเคยมีแต่ได้สูญหายไปหมด อย่างไรก็ตามได้มีชาวยุโรปหลายชาติ ได้ทำการค้นคว้า เรื่องชนชาติไทยโบราณไว้เป็นหลักฐาน และจากจดหมายเหตุของจีนก็ได้กล่าวถึงเรื่องชนชาติไทยอยู่มาก ซึ่งยังไม่ได้นำมาเปิดเผยให้แพร่หลาย

งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทยอาจทำได้ ๒ วิธี วิธีหนึ่ง ใช้วิธีเดินทางท่องเที่ยวไปในหมู่ชนชาติไทย ที่ยังคงมีถิ่นฐานกระจัดกระจายอยู่ในประเทศจีนตอนใต้ ตังเกี๋ย ลาว พม่า และอินเดีย ทำการสอบสวนค้นคว้า ทางภาษา บ้านเรือน การแต่งกาย ความเป็นอยู่ อาหารการกิน อาชีพ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปกรรม และอื่น ๆ วิธีนี้ต้องลงทุนลงแรง และใช้เวลามาก วิธีนี้ได้มีชาวยุโรป และชาวไทยบางท่านได้ทำไว้แล้ว เช่น หมอวิลเลียมคลิฟตัน ดอดด์ ซึ่งเป็นหมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ได้ใช้เวลาถึง ๒๕ ปี เดินทางท่องเที่ยวไปพำนักอยู่กับคนไทยในถิ่นประเทศต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ศาสนาคริสต์ และใช้โอกาสนั้นศึกษาค้นคว้าเรื่องชนชาติไทยไปด้วย และได้เขียนเอกสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างยากที่จะผู้ใดเสมอเหมือนได้

นอกจากนี้ ยังมีชาวอังกฤษและชาวฝรั่งเศส ซึ่งมามีเมืองขึ้นอยู่ในดินแดนที่ชนชาติไทยมีถิ่นฐานกระจายกันอยู่อย่างกว้างขวาง ได้ค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับชนชาติไทยไว้ไม่น้อย ประกอบกับเอกสารวรรณคดีโบราณของจีนก็มีเรื่องของไทยเรา แทรกอยู่ใช้เป็นเครื่องช่วยอย่างสำคัญ สำหรับนักค้นคว้าในรุ่นหลังต่อมา สำหรับคนไทยเราเองมีนักวิชาการบางท่าน ได้ออกสำรวจถิ่นฐานของชนชาติไทยในดินแดนเหนือประเทศไทย

ปัจจุบันเข้าไปจนถึงดินแดนจีนทางตอนใต้ และได้ประมวลเรื่องที่ได้พบเห็นไว้ในหนังสือเรื่อง กาเลหม่านไต (ท่องเที่ยวไปยังบ้านคนไทย) ซึ่งเป็นข้อมูลค่อนข้างใหม่กว่าข้อมูลที่ชาวตะวันตกทั้งหลาย ได้ค้นคว้าเอาไว้ เป็นข้อมูลประมาณหลังสงครามมหาเอเซียบูรพาสิ้นสุดลงใหม่ ๆ ซึ่งก็สอดคล้องกับที่ชาวตะวันตกหลายชาติที่เขียนเอาไว้ก่อนหน้านั้น

จากการค้นคว้าดังกล่าว ทำให้ได้ความรู้อันแน่ชัดว่า ไทยเราเป็นเชื้อชาติที่สำคัญยิ่งมาแต่โบราณกาล มีอารยธรรม มีความรู้ทางการปกครอง และมีสิ่งดีหลายอย่างมาพร้อมกับชาติโบราณทั้งหลาย บรรดาผู้ทำการค้นคว้าชาวตะวันตกหลายชาติทั้ง อังกฤษ ฝรั่งเศส และ อเมริกา ต่างยืนยันว่า ชนชาติไทยเจริญมารุ่นราวคราวเดียวกันกับชาติโบราณอื่น ๆ เช่น คาลเดีย และบาบิโลน และว่าชนชาติไทยเป็นพี่ชายของชนชาติจีน เช่น หนังสือที่หมอดอดต์แต่งชื่อ The Tai Race มีชื่อเพิ่มเติมว่า Elder brother of the chinese

ชาวตะวันตกรู้จักประเทศไทยมาช้านาน ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีหนังสือตำนานพิมพ์ออกมาแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาฝรั่งเศส ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าหลุยที่ ๑๔ ต่อมาเมื่ออังกฤษ และฝรั่งเศสมาได้เมืองขึ้นในดินแดนเอเซียตะวันออก อังกฤษก็ได้พบคนไทยใหญ่ และไทยอาหมที่พูดภาษาไทย ฝรั่งเศสพบลาวและชนชาติไทยในภาคเหนือของตังเกี๋ย ซึ่งพูดภาษาไทย และมีรูปร่างลักษณะเป็นคนไทย นอกจากนั้นเข้าไปในมณฑลยูนนาน และกวางสีของจีน ก็ได้พบคนที่พูดภาษาไทยอีกเป็นจำนวนมาก

หมอวิลเลียมคลิฟตัน ดอดด์ ซึ่งเป็นมิชชันนารีสอนคริสตศาสนาอยู่ทางเชียงใหม่ ได้เรียนรู้ภาษาไทยเหนือใช้การได้ดี ได้เขียนไว้ว่า เขาสามารถเดินทางไปในมณฑลต่าง ๆ ทางภาคใต้ของจีนโดยไม่มีล่ามเลย คงใช้ภาษาลาวของไทยภาคเหนือเท่านั้น พบว่าภาษาลาวนั้นใช้ได้ทั่วไป แม้ดินแดนทางตะวันตกสุดของมณฑลยูนนาน เมื่อลองประมวลคำพูด สองพันคำ ก็ได้พบเพียง ๑ ใน ๑๔ คำเท่านั้น ที่แตกต่างกับภาษาพูดทางเชียงใหม่ และถ้าไปทางภาคตะวันออกของยูนนาน ก็จะได้พบ ๑ ใน ๘ คำที่ผิดไป ส่วนในมณฑลชานสีจะมีผิดกันมากขึ้นไปเล็กน้อย คือ ๑ ใน ๖ คำ

จากจดหมายเหตุของจีนได้เขียนไว้ว่า พวกที่มาตั้งอาณาจักรน่านเจ้านั้น เป็นพวกตระกูลมุง พวกเดียวกับพวก มุง ลุง ปา แคว้นต่าง ๆ ในอาณาจักรน่านเจ้า เริ่มต้นพยางค์ต้นว่าต้า จึงทำให้เข้าใจได้ต่อไปว่า พวกที่มาตั้งอาณาจักรน่านเจ้าเป็นพวกต้ามุง และได้พบต่อไปอีกว่า คำว่า "ต้า" นั้น ในภาษายูนนานหมายความว่า "ใหญ่" คำนี้เมื่อเป็นภาษากวางตุ้งกลายเป็น "ไต" ซึ่งก็แปลว่าใหญ่อีกเช่นกัน

จากเอกสารตำนานจึนได้พบว่าในรัชสมัย พระเจ้ายู้ ของจีน ซึ่งเริ่มรัชสมัย เมื่อ ๑๖๖๕ ปี ก่อนพุทธศักราช หรือประมาณกว่าสี่พันปีมาแล้ว ได้มีการสำรวจเขตแดนจีน ปรากฎว่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลเสฉวนปัจจุบัน เขตแดนจีนในครั้งนั้น ไปจดอาณาเขตของอาณาจักรใหญ่อาณาจักรหนึ่ง ซึ่งชื่อว่าต้ามุง ซึ่งแน่ชัดว่าพวกต้ามุงเป็นพวกเดียวกับพวกที่มาตั้ง อาณาจักรน่านเจ้า เมื่อปี พ.ศ. ๑๑๗๒

จากผลการค้นคว้าพบว่า หมู่ชนที่เชื่อกันว่าเป็นชนชาติไทยนั้น ได้ตั้งถิ่นฐานเป็นรัฐอยู่แว่นแคว้นอยู่ในประเทศจีนแล้ว ก่อนที่จีนจะอพยพลงมา เนื่องจากประวัติศาสตร์ของจีนเริ่มต้นที่พระเจ้าวั่งตี่ เมื่อ ๒๐๙๔ ปี ก่อนพุทธศักราชนั้นจีนยังอยู่ทางทะเลแคสเบี้ยน หรืออยู่ระหว่างการเคลื่อนย้ายมุ่งสู่ตะวันออก ยังไม่ได้ตั้งอาณาจักรลงในดินแดนที่เป็นประเทศจีนเวลานี้ ประวัติศาสตร์ที่ขงจื้อ เขียนเอง เริ่มต้นที่พระเจ้าเย้า เมื่อ ๑๘๑๔ ปี ก่อนพุทธศักราช ก็ยังเป็นระยะเวลาที่อาณาจักรจีนยังไม่ได้ตั้งถิ่นฐานมั่นคง การสำรวจดินแดนซึ่งกระทำในรัชสมัย พระเจ้ายู้ เมื่อประมาณ ๑๕๐ ปี หลังจากนั้น

เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ มีรายงานของผู้แทนกงสุลอังกฤษ ประจำเมืองจุงกิง ประเทศจีน ได้ทำรายงานเสนอรัฐสภาอังกฤษ มีความตอนหนึ่งว่า แม้ในเวลานี้ เก้าในสิบของพลเมืองของเมืองนานกิง (อยู่ในมณฑลกวางสีใกล้แคว้นตังเกี๋ย) เป็นคนไทย ไม่มีผู้หญิงคนใดในหมู่ชนพวกนี้ที่จะพูดภาษาจีนได้ ชาวโลโล้เป็นแต่พวกคนพเนจรเข้ามาปะปนอยู่ในหมู่คนไทย หัวหน้าปกครองเขตแขวงส่วนมากที่สุดในกวางสีเป็นคนไทย ตั้งแต่ปองไกลงไปถึงนานนิงฟู พลเมืองเป็นไทยทั้งหมด พูดภาษาของตนเอง และส่วนมากที่สุดปกครองโดยหัวหน้าที่สืบสาย

เรื่องเกี่ยวกับชนชาติไทย

บรรดานักค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย ได้พยายามอธิบายเรื่องชนชาติไทยไว้เป็นอันมาก พอประมวลได้ดังนึ้

พันโทมอริส อาบาดี ชาวฝรั่งเศส อธิบายว่า กลุ่มเชื้อชาติของกลุ่มคนที่เรียกชื่อว่าไทย เป็นกลุ่มสำคัญที่สุดในบรรดาหมู่ชนทั้งหลายที่ได้พบในประเทศจีนตอนใต้ และในอินโดจีนทั้งหมด เป็นกลุ่มทึ่รวมหมู่มากมายหลายประเภท แต่มีลักษณะสำคัญที่เหมือนกันในทางภาษา ขนบประเพณี และจารีต

นายดอชเรน ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นสมาชิกราชบัณฑิตสภาอังกฤษ เกี่ยวกับทวีปอาเซีย ให้คำอธิบายว่าเชื้อชาติไทย แบ่งแยกเรียกชื่อตามหมู่เหล่าหลายชื่อ แต่เป็นเชื้อชาติเดียวกัน ได้ยึดครองพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลว่าคนเชื้อชาติอื่นๆ ในแหลมอินโดจีน ในอัสสัมซึ่งเรียกว่าอาหม ตลอดแนวเขตแดนระหว่างพม่ากับจีน แบ่งแยกเป็นหลายพวก และบางพวกก็เป็นอิสระอย่างครึ่ง ๆ เรียกชื่อตามที่พม่าเรียกว่าฉาน ชนเชื้อชาติเดียวกันนี้ได้แผ่ออกไปทางใต้ใช้ชื่อว่า ลาว ยึดครองพื้นที่ระหว่าง แม่น้ำสาละวินกับ แม่น้ำโขงใต้ลงไปอีก ที่รู้จักกันมากที่สุด และเป็นสาขาเชื้อชาติที่มีอารยธรรมสูงที่สุด คือไทยสยาม ซึ่งได้ตั้งอาณาจักรที่มีอำนาจอยู่ทางฝั่งทะเล

นายเอเตียน เอโมนิเอร์ ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ได้เขียนไว้ในหนังสือเรื่องประเทศกัมพูชา พิมพ์ออกเผยแพร่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓ มีความว่าครอบครัวเชื้อชาติใหญ่ ซึ่งเรียกว่าไทย ที่แปลกันว่าเสรีชน ประกอบด้วยหมู่ชนมากมายหลายสาขา มีความสัมพันธ์อย่างเครือญาติใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางภาษา หมู่ใหญ่ของชนชาติดังกล่าวนี้มี ฉาน ลาว หรือ ลาวเฉียง ผู้ไท และชาวสยาม เมื่อก่อนคริสตศักราช ชนเชื้อชาตินี้ได้มีถิ่นฐานอยู่ในที่ราบสูงยูนนาน หรือธิเบตตะวันออก ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาตามทางลาดเอียงของลำน้ำ เข้ายึดครองลุ่มน้ำหลายแห่งในประเทศจีนตอนใต้ และได้แผ่ลงมาทางใต้เหมือนน้ำไหลอย่างแรง ครอบคลุมที่ราบในแหลมอินโดจีนเกือบทั้งหมด และได้ขับไล่พวกชาวป่าชาวดอยเจ้าของถิ่นเดิมให้เข้าไปอยู่ในป่าดง และภูเขาแล้ว ชนชาติไทยก็เข้าครอบครองดินแดนโดยเหลือแต่ที่ที่ยื่นออกตามชายฝั่งทะเล ไว้ให้แก่ชนชาติอื่นที่เจริญแล้วคือ ญวน จามปา เขมร มลายู มอญ และพม่า

ศาสตราจารย์ แตริอัง เดอลาคุเปอรี ชาวอังกฤษ ได้ตรวจสอบภาษาพูดที่ทางจีนสมัยโบราณรวบรวมไว้ พบว่าคำพูดของหมู่ชนที่จีนเรียกว่าคนป่าในสมัยโบราณนั้น แยกออกได้เป็นสองสาขา คือบางคำตรงกับภาษาไทย บางคำตรงกับภาษามอญและญวน เมื่อลองตรวจนับดูก็พบว่าในบรรดาคำ ๑๙ คำ จะเป็นภาษาไทย ๑๒ คำ เป็นภาษามอญและญวน และมีอยู่มากคำที่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร ด้วยเหตุนี้ ศาสตราจารย์ คุเปอรีจึงถือว่า หมู่ชนที่ชาวจีนเรียกว่าคนป่านั้นต้องเป็นพันธุ์ๆ หนึ่ง ซึ่งเขาเขาชื่อว่าพันธุ์ "มอญไทย" โดยที่พันธุ์มอญได้เคลื่อนลงมาทางใต้ก่อนพันธุ์ไทย และมากลายเป็น มอญ เขมร ญวน ในปัจจุบัน

สำหรับเจ้าตำราทางฝรั่งเศส ได้อธิบายไว้ว่ามอญกับเขมรเป็นสาขาเดียวกัน เรียกว่ามอญขะแมร์ ถือเป็นมอญแท้พวกหนึ่ง และเป็นขะแมร์อีกพวกหนึ่ง ชนชาติอื่นๆที่นับเข้าเป็นสาขามอญขะแมร์ได้แก่ ปะหล่อง ว้า ยาง นายดอชเรนได้เขียนไว้ว่าพันธุ์มอญ เป็นเชื้อชาติแรกที่อพยพจากแดนจีนลงมาทางใต้

พันตรี เดวิด ชาวอังกฤษ ได้เขียนเรื่องไทยในยูนนานไว้ว่า คนจีนในยูนนานกล่าวว่า ชาวกวางตุ้งนั้นเป็นเชื้อชาติฉาน (ไทยใหญ่) ดวงหน้าของชาวจีนทางใต้กับพวกฉานเหมือนกันมาก อาจเป็นไปได้ว่าในสมัยหนึ่งพวกฉาน ได้ครองครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในประเทศจีนทางด้านทิศใต้ ของแม่น้ำยังจื้อ แต่ส่วนมากถูกจีนกลืนไป

เซอร์ ยอร์ช สก๊อต ชาวอังกฤษ ผู้เขียนประวัติศาสตร์พม่า ได้เขียนความตอนหนึ่งว่า เชื้อชาติไทยเป็นเชื้อชาติแผ่ไพศาลที่สุดในแหลมอินโดจีน ชาวอาหมในแคว้นอัสสัมเป็นฉาน ชาวฮักก้าในกวางตุ้งเป็นพวกที่ไปจากฉาน อาจจะเป็นไปได้ว่า เชื้อชาติไทยประกอบเป็นส่วนใหญ่ในสี่มณฑลของจีน

หมอวิลเลียมคลิฟตัน ดอดต์ ได้อ้างคำของนายเจไมซัน กงสุลให้อังกฤษประจำเมืองแดนตอน (กวางตุ้ง) เมื่อ ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ว่าพลเมืองในมณฑลกวางสี และกวางตุ้งทั้งหมดเป็นชนเชื้อชาติไทยทั้งในทางเชื้อชาติและทางภาษา

เรเวอเรนต์ เบอร์กวอล นักบวชชาวอังกฤษ กล่าวว่าชาวไทยในมณฑลกวางสี ตามอำเภอชนบทมากหลาย ปกครองโดยหัวหน้าของเขาเอง ที่สืบเชื้อสายต่อกันมา ไม่พูดภาษาจีน และถือพวกถือหมู่ ถึงขั้นไม่ยินดีรับอารยธรรมจีน

หมอวิลเลียมคลิฟตัน ดอดด์ ผู้แต่งหนังสือเรื่องเชื้อชาติไทย เขียนไว้ว่ามีข้อที่จะอ้างอิงได้เป็นอันมากว่า ในปัจจุบันนี้ชาวจีนซึ่งถือว่าหมู่ที่อยู่รอบข้างตน เป็นคนป่า ชั้นต่ำกว่าตนนั้น มีเลือดไทยอยู่ในสายเลือดของตนเป็นอันมาก และยังมีเลือดของพวกโลโล้ ยูง ยาง กะเหรี่ยง เต็ก แม้ว เย้า ไปจนถึงพวกมอญ - ขะแมร์ด้วย พวกเหล่านี้เป็นชาวใต้ เป็นตัวแทนของชาติโบราณที่เคลื่อนที่มาเรื่อย ๆ จากทางเหนือ เมื่อประมวลความเห็นเหล่านี้เข้าด้วยกัน จะเห็นได้ว่าธาตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เกิดชาติจีนในปัจจุบันคือ ชนชาติใหญ่ ชื่อว่า อ้ายลาว ต่อมาภายหลังเรียกว่าไทย พม่าเรียกว่า ฉาน ซึ่งอยู่ในประเทศจีนมาก่อน เก่ากว่าชาวจีน

แม่น้ำฮวงโห และ แม่น้ำแยงซีเกียง ได้แบ่งประเทศจีนออกเป็น ๓ ตอน ตอนเหนือคือพื้นที่ทางด้านเหนือแม่น้ำฮวงโหขึ้นไป ตอนกลางคือพื้นที่ระหว่างแม่น้ำทั้งสองนึ้ และตอนใต้คือพื้นที่ทางด้านทิศใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียงลงมา

ทางเดินของชนชาติจีนตามประวัติศาสตร์นั้น จีนลงมาจากทางเหนือ และเพิ่งมาตั้งอาณาจักรแท้จริงเท่าที่เราทราบ เมื่อมาถึงแม่น้ำฮวงโห และอยู่ในพื้นที่ตอนบนเหนือแม่น้ำสายนี้ ในระยะเวลานั้นยังไม่พบกับไทย ในระยะต่อมาก็เคลื่อนที่ข้ามแม่น้ำฮวงโหเข้ามาสู่พื้นที่ตอนกลาง และได้พบกับไทยในพื้นที่ตรงนี้ จากนั้นจีนก็ได้เปลี่ยนแนวทางเคลื่อนย้าย คือแทนที่จะเคลื่อนที่เรื่อย ๆ ลงมาทางใต้ตามทิศทางที่เคยเคลื่อนที่มาก่อน ก็กลับวกไปทางด้านทิศตะวันออก จีนใช้เวลาถึงหนึ่งพันปีในการเคลื่อนที่สู่ทิศตะวันออกเรื่อยไปจนกระทั่งถึงทะเลเหลื อง ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เป็นข้อสนับสนุนว่า อาณาจักรไทยที่จีนมาพบนั้น ต้องเป็นอาณาจักรที่มั่นคงแข็งแรง สามารถเป็นทำนบกั้นการเคลื่อนที่ของจีนลงทางใต้ได้ยาวนานถึงหนึ่งพันปี ภายหลังเมื่อจีนขยายตัวไปถึงทะเลเหลืองแล้ว จึงได้กลับมากดดันลงทางใต้ และกว่าจะแผ่ขยายไปถึงฝั่งทะเลทางตอนใต้ก็ต้องใช้เวลาอีกประมาณหนึ่งพันปีเช่นกัน&nb sp; ประวัติศาสตร์จีนที่ขงจื้อเขียน ไม่มีข้อความตอนใดกล่าวถึงดินแดนทางตอนใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียงลงไป แสดงว่าในสมัยนั้น จีนยังไม่รู้จักดินแดนตอนใต้

มีอาณาจักรอยู่หลายอาณาจักรที่จีนเรียกว่าคนป่า แต่เป็นอาณาจักรที่ปกครองตนเอง โดยมีความสัมพันธ์กับจีน มีอาณาจักรอีกสองอาณาจักรที่น่าสนใจ นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ

อาณาจักรปัง อยู่ทางทิศเหนือของมณฑลเสฉวนและ ฮูเป คือ อยู่ในพื้นที่ตอนกลางระหว่างแม่น้ำ ฮวงโห กับแม่น้ำ แยงซีเกียง ในตำนานของจีนกล่าวว่า อาณาจักรนี้ได้ถูกรวมเข้ากับจีน เมื่อ ๗๖๗ ก่อนพุทธศักราช และตำนานจีนยังกล่าวไว้ว่า อาณาจักรนี้ได้ตั้งเป็นอิสระมาก่อนแล้ว ๗๖๗ ปี แสดงว่าอาณาจักรนี้ตั้งมาตั้งแต่ ๑๔๕๔ ปี ก่อนพุทธศักราช ขงจื้อเมื่อเขียนถึงชนชาตินี้ จะใช้คำว่า "ปังโบราณ" อาณาจักรปังเป็นอาณาจักรใหญ่มีหมู่บ้านถึง แปดหมื่นหมู่บ้าน เมื่อรวมกับจีนแล้วก็ยังคงใช้ประมุขคนพื้นเมืองปกครองกันเอง ต่อมาภายหลังได้รับการยกย่องให้อยู่ในฐานะกษัตริย์ จีนเรียกเมืองแสนหวีที่อยู่ในรัฐไทยใหญ่ปัจจุบันว่ามูปัง คำว่าปังอาจจะออกเสียงเป็นปอง ปง หรือพงได้นั้น ยังเหลือซากอยู่ในหมู่ชนชาติไทย ชื่อเมืองของชนชาติไทยบางแห่งยังมีชื่อว่า เมืองพง ชาวไทยใหญ่บางพวกยังเรียกตัวเองว่าไทยปอง หรือไทยพง

อาณาจักรจู ทางไทยอาจจะเรียกว่า ฌ้อ เป็นอีกรัฐหนึ่งที่รวมเข้ากับจีน ภายหลังจากที่ได้ต่อสู้กันอยู่ช้านาน นับว่าเป็นรัฐใหญ่ที่สุดในบรรดารัฐคนป่าทั้งหลาย เขตแดนทางเหนือจดครึ่งของพื้นที่ตอนกลาง ระหว่างแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซีเกียง ทางด้านทิศตะวันออกได้ทอดยาวไปตามลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง จากหลักฐานของจีน ชาวชุงเชียสืบสายมาจากชาวจู และหมอวิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ ได้พบชาวชุงเชีย และพูดกันรู้เรื่องด้วยภาษาไทย

ศาสตราจารย์ ลาคุเปอรี ได้พบจดหมายเหตุจีนกล่าวถึงชนชาติไทยเป็นครั้งแรก ในรัชสมัย พระเจ้ายู้ของจีน เมื่อ ๑๖๕๔ ปี ก่อนพุทธศักราช ชนชาติไทยได้ถูกระบุไว้ในรายงานการสำรวจภูมิประเทศของจีนในครั้งนั้น แต่จดหมายเหตุจีนเรียกชนชาติไทยว่า"มุง" และบางแห่งเรียก "ต้ามุง" คือมุงใหญ่ ถิ่นที่อยู่ของชนชาติไทยดังกล่าวนี้ อยู่ในเขตมณฑลเสฉวนของจีนในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในพื้นที่จีนกลางค่อนไปทางตะวันตก

มีจดหมายเหตุของจีน กล่าวถึงชนชาติไทย ได้เรียกชื่อไทยเป็นสองพวก คือ "ลุง" กับ "ปา" อาจจะเป็นได้ว่าทิวเขากุยลุง ได้ชื่อมาจากไทยพวกที่จีนเรียกว่าลุง คำว่ากุย เป็นคำไทย แปลว่าเขา นอกจากนั้น ยังมีชนชาติไทยอีกพวกหนึ่ง อยู่ในพื้นที่ระหว่างมณฑล โฮนาน ฮูเป และอันฮุย แล้วได้ขยายตัวออกไปถึงทิวเขากุยลุงทางด้านทิศตะวันตก เราก็จะได้พบชนชาติไทยที่เรียกชื่อว่า มุง ลุง ปา ปัง และลาว บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำแยงซีเกียง ครอบครองดินแดนตั้งแต่มณฑลเสฉวนภาคตะวันตก ต่อเนื่องทางด้านตะวันออก จนเกือบถึงทะเล และย้อนขึ้นไปทางเขตมณฑลเกียงสู ทิวภูเขาลาวในแถบนี้ ก็อาจจะได้ชื่อมาจากพวกไทย ที่เรียกตัวเองว่าลาวนี้เอง

การเสียพื้นที่ในประเทศไทย

การเสียดินแดน


๑. เกาะหมาก ปีนัง (๑๑ ส.ค. ๒๓๒๙)

๒. มะริด ทะวาย ตะนาวศรี (๑๖ ม.ค. ๒๓๓๖)

๓. เมืองบันทายมาศ (๓๒๕๓)

๔. แสนหวี เชียงตุง เมืองพง (พ.ค. ๒๓๖๘)

๕. รัฐเปรัก (๒๓๖๙)

๖. สิบสองพันนา (๑ พ.ค. ๒๓๙๓)

๗. แคว้นเขมร (๑๕ ก.ค. ๒๔๑๐)

๘. สิบสองจุไท (๒๒ ธ.ค. ๒๔๓๑)

๙. ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน ๑๓ เมือง (๒๗ ต.ค. ๒๔๓๕)

๑๐. ดินแดนฝั่งซ้ายราชอาณาจักรลาว (๓ ต.ค. ๒๔๓๖)

๑๑. ดินแดนฝั่งขวาแคว้นหลวงพระบาง จัมปาศักดิ์ (๑๒ พ.ค. ๒๔๔๖)

๑๒. มณฑลบูรพา เสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ (๒๓ มี.ค. ๒๔๔๙)

๑๓. กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปลิส (๑๐ มี.ค. ๒๔๕๑)

๑๔. เขาพระวิหาร (๑๕ มิ.ย. ๒๕๐๕

รวมพื้นที่ที่เสียไป ๗๘๒,๘๗๗ ตร.กม. จากพื้นที่ ๑,๒๙๔,๙๙๒ ตร.กม. ในอดีต ปัจจุบันเรามีพื้นที่ให้เหยียบกันอยู่เพียง ๕๑๒,๑๑๕ ตร.กม.

18 กันยายน 2552

สวรรยา



สวรรยา


( ลาว คำหอม )





ภาคสวรรค์

ภายใต้เงาฟ้าเรืองรองวันหนึ่ง หลายชีวิตได้เปิดเปลือกตาขึ้น ณ ห้องหับสีทองที่อบอวลด้วยกลิ่นสุคนธรส

“นี่แน่ะ ท่านผู้เป็นน้องแห่งเรา”

ชีวิตแรกเอ่ยทักเมื่อปรากฏร่างน้อยๆ ของอีกชีวิตหนึ่งเคลื่อนมาตรงหน้า

“อะหา ใครกันที่มาเราว่บังอาจเรียกเราว่าน้อง”

ชีวิตสองสนองตอบ

“เรานะรึ”

“ก็จะยังมีผู้อื่นใดอีกเล่า”

“อ๋อ เราคือผู้เป็นเจ้าของแห่งภพนี้”

"ใครสอนถ้อยคำอันแสนจองหองนั้นแก่ท่าน”

“ความจริง”

“คืออย่างไร”

“ก็มีอยู่ว่า เทพเจ้าส่งให้เรามาจุติ ณ รมณียสถานแห่งนี้”

“อือ ตลกดี”

เงียบลงชั่วขณะหนึ่ง

“ไหมล่ะ ท่านจำนนต่อความจริงแล้ว”

ชีวิตสองไม่ตอบ แต่เสียงที่สามหัวเราะแทรกขึ้น

“ฮะฮา...”



สิ้นเสียงที่สามก็มีเสียงที่สี่ - ห้า - หก - และถัดไป หัวเราะประดังก้อง

“นี่มันเรื่องอะไรกัน พวกท่านคือใคร”

ชีวิตแรกกล่าวด้วยน้ำเสียงขึ้งโกรธ

“พวกท่าน”

เสียงเยาะๆดังขึ้นอีกในกลุ่มผู้มาใหม่

“ผิดไปแล้ว ท่านน่าจะเปลี่ยนคำถามใหม่เป็นว่า พวกเรา ซีจึงจะควร ดูสิ จงมองดูตัวท่านแล้วเปรียบเทียบกับพวกเรา และหาความแตกต่าง”



คำทุ่มถียงเงียบลงอีก เหลือแต่เสียงสังคีตแว่วกระจายอยู่ในอากาศเบื้องบน

“พบแล้วยัง”

“ไม่พบ”

“ไม่เห็น”

“ไม่มี”



ดนตรีเสนาะดังชัดมากขึ้น ครู่เดียว ต่อมาทุกชีวิตก็ละจากการโต้เถียง ต่างแหงนหน้าขึ้นมองด้วยความระทึกใจ เมื่อปรากฏร่างสีเขียวแวววาวแหวกม่านฟ้าลงมาด้วยท่าทีองอาจ ติดตามด้วยเหล่าบริวารในแพรพรรณสวยสด ร่างนั้นค่อยลอยเลื่อนลงมา ที่สุดหยุดลงตรงหน้าแล้วเอ่ยปากถาม

“ผู้สืบผลบุญ พวกท่านส่งเสียงอื้ออึงคะนึง

ในยามนี้ ด้วยเหตุดังฤา”

“เรามีปัญหามากหลาย”

ชีวิตแรกเสนอหน้า

“จงว่ามา”



“หะแรก ข้าพเจ้าเรียกท่านหนึ่งในพวกนี้ว่า น้อง ข้าพเจ้าได้รับความขุ่นเคืองจากเขา และเมื่อข้าพเจ้าแจ้งให้ทราบว่าเป็นเจ้าของแว่นแคว้นแดนนี้ด้วยเหตุมาถึงก่อน คำตอบของพวกเขาคือเสียงหัวเราะ ที่สุดตกลงกันไม่ได้ว่าพวกเราคือใคร...”

“นั่นปะไร ข้าคิดไว้เคยผิดเสียเมื่อไหร่”

ผู้ทรงศักดิ์พูดพลางถูมือไปมานิ่งคิดอยู่ครู่หนึ่งแล้วจึงกล่าวสืบไป

“ขอพากันทราบเสียว่า ทุกท่านเป็นผู้สืบจากผลแห่งบุญ”

“คืออย่างไรท่าน”

เสียงถามด้วยอาการกระตือรือร้น

“ฟังให้จบก่อนซี - เอ้อ -คือท่านทั้งหลายมาสู่ทิพยสถานแห่งนี้ด้วยผลบุญ”

“ทิพยสถานคือ คืออย่างไร”

“อ้าว เราได้เตือนท่านแล้วว่าอย่าขัดจังหวะเมื่อกำลังพูด คืออย่างนี้ ที่นี่เป็นสรวงสวรรยาของผู้มากด้วยบุญ มีทุกสิ่งที่เป็นทิพย์”

“หมายความว่าพวกเราคือเทพ”

“นั่นสุดแท้แต่ท่านจะเข้าใจและเรียกตัวเอง”

“ฮา ตูคือเทพ เราคือเทพ”

เอ็ดอึงด้วยหรรษา

“ตัวท่านนั้นเล่าเป็นใคร”

เสียงเทพกระด้างขึ้น

“ใคร่รู้นักรึ”

“ใช่”

“อันที่จริงหากสังเกตสักเล็กน้อยผิวกายอันเรืองรองของเราน่าจะบอกท่านได้ว่าเราเป็นใคร อ้อ! พวกท่านเป็นผู้มาใหม่ไม่เป็นไร เราจะบอกให้ เราคือองค์อินทร์ เป็นพระยาแห่งทิพยสถานเกษมสุขนี้”

“องค์อินทร์ โอ้ ขอได้โปรดแก่ความเบาปัญญาของพวกข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่านผู้เป็นที่เคารพ”

สิ้นสำเนียงทวยเทพ เหล่าบริวารแวดล้อมก็แซ่ขานและบรรเลงดนตรีทิพย์สืบต่อมาอีกชั่วครู่ เหล่าผู้มาใหม่ได้ออกปากวิงวอนให้ผู้เป็นพระยาเล่าถึงความเป็นไปในทิพยนครโดยสังเขป

“ภพนี้...” องค์อินทร์เริ่มกล่าวด้วยน้ำเสียงกังวาน “มีอายุขัยไล่เลี่ยเหลือประมาณกับอายุกาลแห่งโลกมนุษย์ ว่าถึงตำแหน่งแห่งที่ตั้งเล่า ถ้ากำหนดเอาแผ่นฟ้าเป็นจุดต้น ก็มีหนทางไกลกว่าจากแผ่นฟ้าถึงผิวโลก เพียงสองศอกถึงสองวาโดยประมาณ ทุกสิ่งแลลานเป็นสีทองดังท่านได้ประจักษ์อยู่บัดนี้ อนึ่งเนื่องด้วยเราอยู่ห่างออกมา ความแจ่มจ้าของอาทิตย์ก็มาติดอยู่แค่ผิวพื้นโลก แสงที่ตกถึงเราจึงบางเบาเป็นลำแสงสีรุ้งอ่อน เราไม่มีเวลาร้อน เช่นเดียวกับที่ไม่รู้จักหนาว ชีวิตมีแต่ความเบิกบาน เมื่อหิวก็จะมีอาหารอันเอมโอชลิ่วลอยลงมาจากนภากาศ จงเลือกอยู่ เลือกกินสร้องเสพสำราญจนกว่าทุกท่านจะสิ้นบุญเถิด”



สิ้นกระแสสั่ง เสียงเห่กล่อมประเลงเพลงก็ก้องกึก กังวานไกล หลายหมื่นโยชน์ เหล่าทวยเทพจึงทอดตัวลงฟอนฟาน ด้วยอาการสำราญในทิพยสถานนั่นแล



เมืองดิน

สายมากแล้ว ชายแก่เดินงุดๆ ออกจากคูหาน้อยปลายสวน มือถือกระป๋องเก่าๆ ซึ่งยังคลุ้งด้วยกลิ่นอับๆ ของยาพิษ แกพูดพึมพำ

“อ้ายฉิบหาย นับวันก็ยิ่งแต่มาก คราวนี้เห็นจะเกลี้ยงเสียที มีไอ้หัวเขียวลอดขึ้นมาได้ตัวเดียว”

05 สิงหาคม 2552

การเขียน



การเขียน


1. การเขียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของบุคคลออกมาเป็นสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษร เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ จากความข้างต้น ทำให้มองเห็นความหมายของการเขียนว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น นักเรียน ใช้การเขียนบันทึก ความรู้ ทำแบบฝึกหัดและตอบข้อสอบบุคคลทั่วไป ใช้การเขียนจดหมาย ทำสัญญา พินัยกรรมและค้ำประกัน เป็นต้น พ่อค้า ใช้การเขียนเพื่อโฆษณาสินค้า ทำบัญชี ใบสั่งของ ทำใบเสร็จ รับเงิน แพทย์ ใช้บันทึกประวัติคนไข้เขียนใบสั่งยาและอื่นๆ เป็นต้น

2.
ลักษณะผู้เขียน ผู้เขียนนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความคิด ของผู้เขียนเป็นจุดกำเนิดที่ทำให้เกิดการเขียนขึ้น ดังนั้นจึงกล่าวถึง ลักษณะของผู้เขียน ได้ดังนี้
1)
มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และจินตนาการ
2)
มีความรอบรู้ เพราะความรู้เปรียบเสมือนวัตถุดิบ
3)
เลือกเนื้อหาและใช้ภาษาได้ถูกต้อง และเหมาะสมตามหลักการใช้ภาษา
4)
หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็น ที่จะทำให้ผู้อื่นหรือตัวเองเดือดร้อน
5)
ลักษณะท่าทาง ผู้เขียนนอกจากมีความคิด ความรู้ และความสามารถบุคลิกลักษณะ ท่าทางในการนั่ง การวางมือ การจับปากกาดินสอ ผู้เขียนต้องเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อสุขภาพของผู้เขียนเอง
6)
ลายมือของผู้เขียน เขียนให้ถูกต้อง เป็นระเบียบ สะอาดและชัดเจน
7)
จรรยาบรรณผู้เขียน หมายถึง มารยาท เช่น การให้เกียรตินักเขียนโดยลงชื่อเจ้าของผลงานที่เราลอกหรือเอาแนวคิดของ เขามาทุกครั้ง

28 กรกฎาคม 2552

ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว


ความน่ารัก ของภาษาไทยกับภาษาลาว ท = ไทย ล = ลาว

สถานที่

ท : ห้อง คลอด ล : ห้องประสูติ

ท : นาง ผดุง ครรภ์ ล : นางประสูติ

ท : ห้องไอซียู ล : ห้องมรสุม

ท : ปั๊มเชลล์ ล : ปั๊ม หอย

ท : ไฟ แดง ล : ไฟอำนาจ

ท : ไฟเขียว ล : ไฟอิสระ

ท : ถ่ายเอกสาร / ถ่าย สำเนา ล : อัด เอกสาร

ท : ร้านถ่ายรูป ล : ร้านแหกตา (- -'')

ท : ผ้าเย็น ล : ผ้า อนามัย * เห อๆๆ

ท : Johny Walker ล : บักจอน ย่าง * เฮ้ย วันนี้ไปดื่มบัก จอนย่างกัน เว้ย ....

ท : ผู้ชายมีหนวด ล : ผู้ชายปากหมอย

ท : ผ้าอนามัย ล : ผ้ายันต์กันโลหิต

ท : ถุงยางอนามัย ล : ถุงปลิดชีวิต

หรือจะ เป็น ภาพยนตร์ก็มีนะครับ

ท : Superman ล : บักอึดถลาลม

ท : Face Off ล : หน้าข้อยอยู่ปู๊น หน้าเปิ้นอยู่นี่

ท : Speed ล : เบรกบ่อยู่

ท : สองสิงห์ชิงบัลลังก์ ล : สองสิงห์ชิงตั่งนั่ง

ท : รักจริงๆ ให้ดิ้นตาย ล : ฮักคักคัก ชักแงกแงก

ท : โลก ทั้งใบให้นายคนเดียว ล : โลกโม้ดม้วยให้โต๋ผู้ เดียว

ท : หนูน้อย พเนจร ล : บักหำน้อย ตุหรัด ตุเหร่

ท . ไททานิค ล : ชู้รักเรือ ล่ม

ท . ศรราม ออก อัลบั้ม อย่างนี้ต้องตีก้น ล : ศ่อน ฮาม ออกแผงอย่างนี่ต้องตีดากกกกก

ท . ห้องผ่าตัด ล . ห้องปาด

ท . จู ราสสิคปาร์ค ล . กะปอมพยศ

ท . เชื อด เชือด นิ่ม นิ่ม ล . ปาด ปาด เนิบ เนิบ

ท . หลอด ฟลูออเรสเซนส์ ล . ข้าวหลามแจ้ง

ท . รถไฟ ล . ห้องแถว ไหล

มาดูนักกีฬากันบ้าง ปล่อย ตัวนักวิ่ง 100 เมตร

ท . เข้า ที่ ล . เข้า ซ่อง

ท . ระวัง ล . โก่งดาก

ท . ไป ล . แล่น

25 กรกฎาคม 2552

ผลโพล วัยรุ่นกับการใช้ภาษาไทย



โพล ชี้ วัยรุ่นมีปัญหาการใช้ภาษาไทยเยอะสุด
โพลชี้วัยรุ่นมีปัญหาการใช้ภาษาไทยเยอะสุด (ข่าวสด) เมื่อวันที่ 24 ก.ค. ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจภาคสนาม เรื่อง วันภาษาไทยแห่งชาติ กับสิ่งที่คนไทยต้องการรักษาไว้ในสังคมไทย: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 2,277 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 17-20 ก.ค. พบประเด็นแรกที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.3 ไม่ทราบว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันใด มีเพียงร้อยละ 14.7 ที่ทราบและตอบถูกว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เมื่อสอบถามความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญของภาษาไทย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.9 ไม่ทราบว่าภาษาไทยมีสระกี่รูป ร้อยละ 81.2 ไม่ทราบความหมายของร้อยกรอง ร้อยละ 75.0 ไม่ทราบความหมายของร้อยแก้ว ร้อยละ 64.2 ไม่ทราบวรรณยุกต์ในภาษาไทยว่ามีกี่รูป และร้อยละ 11.7 ไม่ทราบว่าพยัญชนะไทยมีกี่ตัว เมื่อถามถึงพยัญชนะภาษาไทยที่สับสนในการใช้มากที่สุด พบว่า ร้อยละ 26.1 ระบุเป็นตัว "ฎ" รองลงมาคือ ร้อยละ 13.6 ระบุ เป็น "ฏ" ร้อยละ 9.8 ระบุเป็น "ร" ร้อยละ 5.8 ระบุเป็น "ฑ" ร้อยละ 4.5 ระบุเป็น "ณ" และร้อยละ 4.5 เท่ากัน ระบุเป็น "ฐ" ตามลำดับ นอกจากนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.9 มีปัญหาเรื่องเขียนภาษาไทยผิด ร้อยละ 31.9 จับใจความผิด ร้อยละ 29.6 พูดผิด ร้อยละ 27.5 อ่านผิด ร้อยละ 18.6 ฟังผิด เป็นต้น ส่วนกลุ่มบุคคลที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาไทย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.6 ระบุคือกลุ่มวัยรุ่น ร้อยละ 46.0 ระบุเป็นกลุ่มนักร้อง ร้อยละ 44.8 ระบุเป็นกลุ่มดารานักแสดง ร้อยละ 18.1 ระบุผู้ดำเนินรายการวิทยุ ร้อยละ 17.2 ระบุเป็นนักการเมือง ร้อยละ 17.2 ระบุเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ ร้อยละ 15.8 ระบุเป็นผู้ประกาศข่าว และร้อยละ 8.9 ระบุเป็นครูอาจารย์ ตามลำดับ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.5 ระบุต้องเร่งแก้ไขอนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ภาษาไทยในช่วงเวลานี้ ในขณะที่เพียงร้อยละ 7.5 ระบุว่าไม่ต้องเร่งแก้ไข เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่ต้องรักษาไว้ในสังคมไทย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.2 ระบุเป็นศิลปวัฒนธรรม รองลงมาคือร้อยละ 68.5 ระบุภาษาไทย ร้อยละ 68.1 ระบุเป็นการช่วยเหลือ มีน้ำใจต่อกัน ร้อยละ 60.1 ระบุความกตัญญู รู้จักตอบแทนบุญคุณ ร้อยละ 59.5 ระบุการเคารพผู้อาวุโส ร้อยละ 59.0 ระบุความสามัคคี ร้อยละ 56.9 ระบุความรักชาติ ร้อยละ 54.1 ระบุการให้อภัย และร้อยละ 46.9 ระบุความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษและกฎแห่งกรรม ตามลำดับขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

24 กรกฎาคม 2552

แบบฝึกหัดเรื่องการฟัง ชุดที่ 2

ข้อ ๑ การฟังมีความหมายตรงกับข้อใด
ก. การได้ยิน ข. การรู้ความหมาย
ค. การทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน ง. การรับรู้ความหมายจากเสียงที่เราได้ยิน
เฉลย ง
ข้อ ๒ ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของผู้ฟังที่ดี
ก. นั่งฟังเงียบๆ แสดงอาการรับรู้จนกว่าผู้พูดจะพูดจบ
ข. พิจารณาเรื่องราวที่กำลังฟังว่าน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
ค. รวบรวมความคิดให้ได้ว่าผู้พูดมีวัตถุประสงค์อะไรในการพูดนั้น
ง. แยกแยะได้ว่าเรื่องที่ได้ฟังนั้นมีส่วนใดเป็นข้อเท็จจริง ส่วนใดเป็นข้อคิดเห็น
เฉลย ข
ข้อ ๓ เมื่อหัวหน้าห้องของท่านประกาศให้ทุกคนในชั้นเรียนทราบว่า วันนี้อาจารย์ติดราชการมาสอนไม่ได้ ขอให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัด......ให้เสร็จ ท่านควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ทำแบบฝึกหัดตามที่อาจารย์มอบหมายให้
ข. นั่งคุยกับเพื่อนก่อนแล้วคอยลอกเพื่อนที่ทำเสร็จ
ค. ทำแบบฝึกหัดวิชาอื่นที่ค้างอยู่ก่อน
ง. ออกจากห้องและเตรียมการเรียนวิชาใหม่
เฉลย ก
ข้อ ๔ ข้อใด ไม่ใช่การใช้วิจารณญาณในการฟัง
ก. ฟังแล้วยอมรับทัศนะของผู้อื่น
ข. ฟังแล้วคิดตามว่าน่าเชื่อถือเพียงใด
ค. ฟังแล้วพิจารณาว่าผู้พูดใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดอย่างไร
ง. ฟังแล้วพิจารณาว่าเรื่องนั้นเป็นข้อเท็จจริงหรือเป็นความคิดเห็นของผู้พูด
เฉลย ก
ข้อ ๕ เมื่อผู้อื่นมาพูดถึงความไม่ดีของบุคคลที่ ๓ ท่านควรทำอย่างไร
ก. ห้ามปรามว่าไม่ควรพูดให้ผู้อื่นเสียหาย
ข. พิจารณาว่าถ้าเป็นความจริงตามที่ได้ฟังก็ควรบอกให้ผู้นั้นแก้ไข
ค. ไม่แสดงความคิดเห็น และพยายามเปลี่ยนหัวข้อสนทนา
ง. พยายามซักไซ้ให้ผู้พูดขยายความมากขึ้น
เฉลย ก
ข้อ ๖ การฟังการอภิปรายเป็นการฟังเพื่อจุดประสงค์ใด
ก. ฟังเพื่อความรู้ ข. ฟังเพื่อคิด
ค. ฟังเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน ง. ฟังเพื่อความรู้และเพื่อคิด
เฉลย ง
ข้อ ๗ ข้อใดไม่ใช่อุปสรรคของการฟัง
ก. คาดหมายไว้ก่อนว่าผู้พูดเป็นคนพูดเก่ง
ข. ความคิดเห็นของผู้พูดถูกต้องเสมอ
ค. เด็ก ๆ ข้างนอกห้องประชุมวิ่งเล่นอึกทึก
ง. ภายในห้องค่อนข้างร้อนเพราะไม่มีแอร์มีแต่พัดลม
เฉลย ก
ข้อ ๘ ข้อใดเป็นการให้เกียรติผู้พูด
ก. ไม่ส่งเสียงดัง พูดเพียงกระซิบกระซาบเบา ๆ พอได้ยินกันสองคน
ข. ปรบมือและส่งเสียงร้องให้กำลังใจแก่ผู้พูด
ค. เมื่อพอใจคำพูดตอนใดให้ปรบมือแสดงความพอใจ
ง. แสดงความสนใจด้วยการลุกขึ้นถามคำถามทันทีที่เกิดความสงสัย
เฉลย ค
ข้อ ๙ พฤติกรรมใดที่เหมาะสมในการฟังในที่ประชุมชน
ก. นั่งฟังอย่างสบาย ๆ ข. นำอาหารเข้ามารับประทาน
ค. ปรบมือต้อนรับ ง. นั่งหลับตาทำสมาธิขณะฟัง
เฉลย ค
ข้อ ๑๐ ข้อใดไม่ใช่มารยาทในการฟัง
ก. กระตุ้นให้ผู้พูดได้พูดในเรื่องที่เขาสนใจ
ข. แสดงความไม่เห็นด้วยทางสีหน้า อย่าใช้คำพูด
ค. แทรกคำถามในขณะฟังเมื่อผู้พูดพูดจบกระแสความ
ง. ไม่ทำกิจกรรมอย่างอื่นไปด้วยในขณะฟัง
เฉลย ก

พระอัจริยภาพจากการอ่าน


การเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ
“วิธีที่รู้ภาษาดีนั้น จะเรียนแต่เวลาเรียนจริงๆ เท่านั้นไม่พอ ต้องพยายามอ่านหนังสือ ถ้าคำใดไม่เข้าใจ ควรถามใครดูหรือดูใน dictionary ควรลองเทียบสำนวนที่แปลกๆ ดูกับภาษาไทย ลองแปลดูบ้าง ดังนี้ก็จะรู้ภาษาดีได้เร็ว”
(คุณหญิงมณี สิริวรสาร, ๒๕๔๒ : ๕๙)
วิธีการเรียนภาษาจากการอ่านหนังสือนี้ ทรงปฏิบัติมาตั้งแต่เมื่อทรงศึกษาที่วิทยาลัยอีตัน ทรงพระอุตสาหะวิริยะในการทรงพระอักษร คืออ่านเขียนเพื่อฝึกการใช้ภาษาและในการแสวงหาความรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน โปรดการอ่านหนังสือภาษาไทยและต่างประเทศ แม้เมื่อทรงสละราชสมบัติแล้วก็ยังทรงหนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบับเพื่อให้ทราบข่าวต่างๆ รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับประเทศไทย ความสนพระทัยในการอ่าน ยังผลให้ทรงรอบรู้ศาสตร์หลายสาขาและทรงวิเคราะห์เรื่องราวสำคัญหลายเรื่องได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับพระคติที่ว่าการอ่าน เป็นหนทางเพิ่มความรู้และสติปัญญา นอกจากจะโปรดการทรงพระอักษรแล้ว ยังทรงสนับสนุนให้ประชาชนแสวงหาความรู้จากการอ่านหนังสือโดยโปรดเกล้าฯ ให้ราชบัณฑิตยสภาจัดประกวดหนังสือที่แต่งดี และหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก ทรงพระราชนิพนธ์คำนำด้วยพระองค์เอง นับเป็นการเผยแพร่สารสนเทศอันทรงคุณค่าให้ประชาชนได้เรียนรู้ตลอดชีวิต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งหอพระสมุดวชิราวุธเพื่อเป็นสถานที่รวบรวมหนังสือส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและหนังสือใหม่ และให้ย้ายหอพระสมุดวชิรญาณมาอยู่บริเวณวังหน้า จัดเป็นที่รวบรวมหนังสือสมุดไทย ใบลาน จารึก และสมุดภาพเขียนเก่า หอพระสมุดทั้งสองแห่งนี้โปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า หอพระสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของหอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน

ตัวอย่างของนักอ่านที่ประสบความสำเร็จ Oprah Winfrey


Oprah Winfrey เป็นเจ้าของรายการทอล์คโชว์ที่มีผู้ชมมากที่สุดของสหรัฐฯ
เธอนับเป็นผู้มีบทบาท และ อิทธิพลด้านสื่อมากที่สุดคนหนึ่งในโลก
Oprah Winfrey เกิดในครอบครัวที่ยากจนในMississippi
เธอถูกข่มขืนในวัยเพียง9 ขวบ ต่อมาในวัย 14ปี เธอให้กำเนิดลูกชายซึ่งเสียชีวิตต่อมาในวัยเด็ก
ปัจจุบันOprah Winfrey นับเป็นชาวอเมริกันผิวดำที่ร่ำรวยที่สุดคนหนึ่ง
เธอเขียนถึงความทรงจำเกี่ยวกับการอ่านไว้ตอนหนึ่งว่า

Books were my pass to personal freedom. I learned to read at age three, and soon discovered there was a whole world to conquer that went beyond our farm in Mississippi.

หนังสือคือบัตรผ่านสำหรับฉันไปสู่เสรีภาพส่วนตน ฉันเรียนที่จะอ่านตั้งแต่วัยสามขวบ และ ไม่นานนัก ฉันก็พบว่ายังมีโลกที่กว้างใหญ่ไกลออกไปจากฟาร์มของเราในMississippiที่รอให้ฉันไปเอาชนะ

ตัวอย่างของนักอ่านที่ประสบความสำเร็จ Strickland Gillilan


กวีชาวสหรัฐStrickland Gillilan (1869-1954) เขียนบรรยาย ถึงคุณค่าอันประมาณไม่ได้ของการอ่านหนังสือให้ลูก
ในบทกวีชิ้นอมตะของเขาชื่อThe Reading Mother ซึ่งยังคงนำมาอ่านกันเสมอในวันแม่ทุกปี

You may have tangible wealth untold; Caskets of jewels and coffers of gold. Richer than I you can never be -- I had a Mother who read to me.
เธออาจจะมีทรัพย์สินมากมายเหลือพรรณา
มีเพชรนิลจินดาเป็นกล่อง กับทั้งทองเป็นลัง
แต่เธอไม่มีทางร่ำรวยกว่าฉันได้..
เพราะฉันมีแม่ที่คอยอ่านให้ฉันฟัง

ประโยชน์ของการอ่าน


ประโยชน์ของการอ่าน
๑) ทำให้มีความรู้ในวิชาการด้านต่าง ๆ อาจเป็นความรู้ทั่วไป หรือความรู้เฉพาะด้านก็ได้ เช่น การอ่านตำราแขนงต่าง ๆ หนังสือคู่มือ หนังสืออ่านประกอบในแขนงวิชาต่าง ๆ เป็นต้น
๒) ทำให้รอบรู้ทันโลก ทันเหตุการณ์ การอ่านหนังสือพิมพ์การอ่านจากสื่อสารสนเทศต่าง ๆ ในสังคมทั้งภายในและภายนอกประเทศแล้ว ยังจะได้ทราบข่าวกีฬา ข่าวบันเทิง บทความวิจารณ์ ตลอดจนการโฆษณาสินค้าต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับความเป็นอยู่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมของตนในขณะนั้น ๆ
๓) ทำให้ค้นหาคำตอบที่ต้องการได้ การอ่านหนังสือจะช่วยตอบคำถามที่เราข้องใจ สงสัย ต้องการรู้ได้ เช่น อ่านพจนานุกรมเพื่อหาความหมายของคำ อ่านหนังสือกฎหมายเมื่อต้องการรู้ข้อปฏิบัติ อ่านหนังสือคู่มือแนะวิธีเรียนเพื่อต้องการประสบความสำเร็จในการเรียน เป็นต้น
๔) ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน การอ่านหนังสือที่มีเนื้อหาดี น่าอ่าน น่าสนใจ ย่อมทำให้ผู้อ่านมีความสุข ความเพลิดเพลิน เกิดอารมณ์คล้อยตามอารมณ์ของเรื่องนั้น ๆ ผ่อนคลายความตึงเครียด ได้ข้อคิด และยังเป็นการยกระดับจิตใจผู้อ่านให้สูงขึ้นได้อีกด้วย
๕) ทำให้เกิดทักษะและพัฒนาการในการอ่าน ผู้ที่อ่านหนังสือสม่ำเสมอย่อมเกิดความชำนาญในการอ่าน สามารถอ่านได้เร็ว เข้าใจเรื่องราวที่อ่านได้ง่าย จับใจความได้ถูกต้อง เข้าใจประเด็นสำคัญของเรื่อง และสามารถประเมินคุณค่าเรื่องที่อ่านได้อย่างสมเหตุสมผล
๖) ทำให้ชีวิตมีพัฒนาการเป็นชีวิตที่สมบูรณ์ ผู้อ่านมากย่อมรู้เรื่องราวต่าง ๆ มาก เกิดความรู้ความคิดที่หลากหลายกว้างไกล สามารถนำมาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนให้ชีวิตมีคุณค่า และมีระเบียบแบบแผนที่ดียิ่งขึ้น
๗) ทำให้เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดีและเสริมสร้างบุคลิกภาพ ผ่านมากย่อมรอบรู้มาก มีข้อมูลต่างๆ สั่งสมไว้มาก เมื่อสนทนากับผู้อื่นย่อมมีความมั่นใจไม่ขัดเขินเพราะมีภูมิรู้ สามารถถ่ายทอดความรู้ให้คำแนะนำแก่ผู้อื่นในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ได้ ผู้รอบรู้จึงมักได้รับการยอมรับและเป็นที่เชื่อถือจากผู้อื่น

การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ


ความหมายของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ(Critical Reading)
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ หรือ การอ่านอย่างวิเคราะห์วิจารณ์ หรือ การอ่านอย่างวิพากษ์วิจารณ์ หมายถึงการอ่านที่ผู้อ่านนำเอาวิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณมาใช้ในการรับสารจากการอ่าน ทั้งนี้เพื่อประเมินสิ่งที่อ่านและตัดสินใจว่าสิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอมีเหตุผลน่าเชื่อถือหรือไม่ เพียงใด การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นทักษะการอ่านขั้นสูงที่ผู้อ่านจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเพื่อเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์วิจารณ์ในขั้นสูงต่อไป ทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกของข้อมูลข่าวสารเช่นในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะจะช่วยให้ผู้อ่านรู้จักวิเคราะห์ ตรวจสอบ และเลือกรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุผล
ตัวอย่างความหมายของ "การคิดอย่างมีวิจารณญาณ" ที่มีผู้ให้คำนิยามไว้
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ คือการคิดอย่างมีเหตุผล ไตร่ตรอง เพื่อการตัดสินใจว่าสิ่งใดควรเชื่อและสิ่งใดควรทำ (Norris & Ennis, 1989)
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) หมายถึง การคิดที่ใช้เหตุผลในการคิดแบบไตร่ตรอง เพื่อตัดสินใจเชื่อหรือกระทำ ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ การใช้เหตุผลเชิงอุปมาน การใช้เหตุผลเชิงอนุมาน การสังเกต การตีความ การตั้งสมมุติฐาน การพิจารณาความน่าเชื่อถือ การตัดสินคุณค่า และกลวิธีการแก้ปัญหา ( เอื้อญาติ ชูชื่น, 2535: 23)
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึงกระบวนการพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบเกี่ยวกับข้อมูล หรือสถานการณ์ที่ปรากฏ โดยใช้ความรู้ ความคิด และประสบการณ์ของตนเองในการสำรวจหลักฐานอย่างรอบคอบเพื่อไปสู่ข้อสรุปที่สมเหตุสมผล (เพ็ญพิศุทธิ์ เนคมานุรักษ์, 2536: 8)
การคิดวิจารณญาณ (Critical Thinking) หมายถึง ความสามารถทางสมองของบุคคล ที่แสดงออกมาโดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและตรึกตรองอย่างรอบคอบ เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจที่จะเชื่อหรือกระทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ความสามารถย่อย คือ ความสามารถในการพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลและการสังเกต ความสามารถในการนิรนัย ความสามารถในการอุปนัย ความสามารถในการระบุข้อตกลงเบื้องต้น (ชาลิณี เอี่ยมศรี, 2536: 7)
ทักษะการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ หมายถึง ความสามารถในการคิดที่ใช้ทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการใช้เหตุผล ทักษะการประเมินข้อมูล และทักษะการเลือกและตัดสินใจอย่างผสมผสานจนได้ข้อสรุปหรือคำตอบ (บำรุง ใหญ่สูงเนิน, 2536: 8)
ความคิดเชิงวิจารณ์ (Critical Thinking) เป็นทัศนคติพื้นฐานและทักษะที่ช่วยให้ปัจเจกชนสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ และมีหลักการในการเชื่อและการตัดสินใจ (โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์, 2543: iii)
Critical thinking คือการคิดไตร่ตรองที่เน้นในเรื่องการตัดสินใจว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อสิ่งใด หรือจะทำหรือไม่ทำสิ่งใด ความหมายนี้ได้นับรวมเอาความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) เข้าไว้ในคำจำกัดความของ Critical thinking ด้วย (อำพร ไตรภัทร, 2543: 1)
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึงการทำงานของสมองที่มีการคิด พิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบเกี่ยวกับข้อมูล หรือสภาพการณ์ที่ปรากฏ โดยใช้ความรู้ ความคิด และประสบการณ์ของตนเองในการสำรวจหลักฐานอย่างละเอียด เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่สมเหตุสมผล ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 7 ประการ
1. ความสามารถในการระบุประเด็นปัญหา เป็นความสามารถในการระบุหรือ ทำความเข้าใจโดยพิจารณาความหมาย ความชัดเจนของข้อมูล ข้อความ ข้ออ้าง หรือข้อโต้แย้ง หรือสถานการณ์ที่ปรากฏ เพื่อกำหนดข้อสงสัยและประเด็นหลักที่ควรพิจารณาและแสวงหาคำตอบ
2. ความสามารถในการรวบรวมข้อมูล เป็นความสามารถในการพิจารณาข้อ มูลทั้งทางตรงและทางอ้อมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งได้จากการคิด การพูดคุย การสังเกต ทั้งจากตนเองและผู้อื่น รวมถึงการดึงข้อมูลจากประสบการณ์เดิมที่มีอยู่
3. ความสามารถในการพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล เป็นความ สามารถในการพิจารณา ประเมิน ตรวจสอบ ตัดสินข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยพิจารณาถึงที่มาของข้อมูล สถิติ และหลักฐานที่ปรากฏ
4. ความสามารถในการระบุลักษณะข้อมูล เป็นความสามารถในการจำแนกประเภทของข้อมูล ระบุแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังข้อมูลที่ปรากฏ ซึ่งประกอบด้วยความสามารถในการพิจารณาแยกแยะ เปรียบเทียบความต่างของข้อมูล การตีความ ประเมินว่าข้อมูลใดเป็นจริง ข้อมูลใดเป็นเท็จ รวมถึงการระบุข้อสันนิษฐานหรือข้อตกลงเบื้องต้นที่อยู่เบื้องหลังข้อมูลที่ปรากฏ การนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ที่อาศัยข้อมูลจากประสบการณ์เดิมมาร่วมพิจารณาด้วย
5. ความสามารถในการตั้งสมมุติฐาน เป็นความสามารถในการพิจารณาถึง ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างข้อมูลที่มีอยู่ สังเคราะห์ จัดกลุ่ม และลำดับความสำคัญของข้อมูลเพื่อระบุทางเลือกที่เป็นไปได้ โดยเน้นที่ความสามารถพิจารณาเชื่อมโยงเหตุการณ์และสถานการณ์
6. ความสามารถในการลงข้อสรุป เป็นความสามารถในการพิจารณาอย่างมีเหตุ ผลเพื่อให้ข้อสรุปโดยใช้เหตุผลเชิงอุปนัย (Inductive Reasoning) หรือเหตุผลเชิง นิรนัย (Deductive Reasoning)
6.1 การสรุปความโดยใช้เหตุผลเชิงอุปนัย เป็นการสรุปความโดยพิจารณาข้อมูลหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะเรื่อง เพื่อนำไปสู่กฎเกณฑ์หรือหลักการ 6.2 การสรุปความโดยใช้เหตุผลเชิงนิรนัย เป็นการสรุปความโดยพิจารณาจากกฎเกณฑ์ และหลักการทั่วไป เพื่อไปสู่เรื่องเฉพาะหรือสถานการณ์ที่ปรากฏ
7. ความสามารถในการประเมินผล เป็นความสามารถในการพิจารณาประเมิน ความถูกต้อง สมเหตุสมผลของข้อสรุป จึงเกิดจากการคิดวิเคราะห์ ไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ใช้เหตุผลเชิงตรรกะ รวมทั้งความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่ การตัดสินคุณค่าและเหตุการณ์อย่างถูกต้อง (อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, 2537: 12-13)
ทักษะการคิด แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ "ทักษะการคิดที่เป็นแกน" และ "ทักษะการคิดขั้นสูง" ส่วน "กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ" ประกอบด้วยจุดมุ่งหมายของการคิด และวิธีคิด (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ , 2540: 29-62)
ทักษะการคิดที่เป็นแกน (Core /General Thinking Skills)
หมายถึง ทักษะการคิดที่จำเป็นต้องใช้อยู่เสมอในการดำรงชีวิตประจำวัน และเป็นพื้นฐานของการคิดชั้นสูงที่มีความสลับซับซ้อน ประกอบไปด้วย การสังเกต (Observing) การสำรวจ (Exploring) การตั้งคำถาม (Questioning) การเก็บรวบรวมข้อมูล (Information Gathering) การระบุ (Identifying) การจำแนกแยกแยะ (Discriminating) การจัดลำดับ (Ordering) การเปรียบเทียบ (Comparing) การจัดหมวดหมู่ (Classifying) การสรุปอ้างอิง (Inferring) การแปล (Translating) การตีความ (Interpreting) การเชื่อมโยง (Connecting) การขยายความ (Elaborating) การให้เหตุผล (Reasoning) และการสรุปย่อ (Summarizing)
ทักษะการคิดขั้นสูงหรือทักษะการคิดที่ซับซ้อน ( Higher - ordered / More Complexed Thinking Skills)
หมายถึงทักษะการคิดที่มีขั้นตอนหลายขั้น และต้องอาศัยทักษะการสื่อความหมาย และทักษะการคิดที่เป็นแกนหลาย ๆ ทักษะในแต่ละขั้น ทักษะการคิดขั้นสูงจึงจะพัฒนาได้เมื่อเด็กได้พัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานจนมีความชำนาญพอสมควรแล้ว ทักษะการคิดขั้นสูงประกอบด้วยทักษะย่อย ๆ ที่สำคัญดังนี้
1. การสรุปความ (Drawing Conclusion)
2. การให้คำจำกัดความ (Definition)
3. การวิเคราะห์ (Analyzing)
4. การผสมผสานข้อมูล (Integrating)
5. การจัดระบบความคิด (Organizing)
6. การสร้างองค์ความรู้ใหม่ (Constructing)
7. การกำหนดโครงสร้าง (Structuring)
8. การแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างความรู้เสียใหม่ (Restructuring)
9. การค้นหาแบบแผน (Finding Patterns)
10. การหาความเชื่อพื้นฐาน (Finding Underlying Assumption)
11. การคาดคะเน / การพยากรณ์ (Predicting)
12. การตั้งสมมุติฐาน (Formulating Hypothesis)
13. การทดสอบสมมุติฐาน (Testing Hypothesis)
14. การตั้งเกณฑ์ (Establishing Criteria)
15. การพิสูจน์ความจริง (Verifying)
16. การประยุกต์ใช้ความรู้ (Applying)
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณประกอบไปด้วย 1. จุดมุ่งหมายของการคิด 2. วิธีคิด
จุดมุ่งหมายของการคิด ผู้คิดอย่างมีวิจารณญาณมีความสามารถ ดังนี้
1. สามารถกำหนดเป้าหมายในการคิดอย่างถูกทาง
2. สามารถระบุประเด็นในการคิดได้อย่างชัดเจน
3. สามารถประมวลข้อมูล ทั้งทางด้านข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่คิด ทั้งทางกว้าง ลึก และไกล
4. สามารถวิเคราะห์ข้อมูล และเลือกข้อมูลที่จะใช้ในการคิดได้
5. สามารถประเมินข้อมูลได้
6. สามารถใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูล และเสนอคำตอบ/ทางเลือก ที่สมเหตุสมผลได้
สามารถเลือกทางเลือก/ลงความเห็นในประเด็นที่คิดได้
วิธีคิด
1. ตั้งเป้าหมายในการคิด
2. ระบุประเด็นในการคิด
3. ประมวลข้อมูล ทั้งทางด้านข้อเท็จจริง ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่คิดทางกว้าง ลึก และไกล
4. วิเคราะห์ จำแนกแยกแยะข้อมูล จัดหมวดหมู่ข้อมูล และเลือกข้อมูลที่จะนำมาใช้
5. ประเมินข้อมูลที่จะใช้ในแง่ความถูกต้อง ความเพียงพอ และความน่าเชื่อถือ
6. ใช้หลักฐานในการพิจารณาข้อมูลเพื่อแสวงหาทางเลือก/คำตอบที่สมเหตุสมผลตามข้อมูลที่มี
7. เลือกทางเลือกที่เหมาะสมโดยพิจารณาถึงผลที่ตามมา และคุณค่าหรือความหมายที่แท้จริงของสิ่งนั้น
8. ชั่งน้ำหนักผลได้ผลเสีย คุณ - โทษ ในระยะสั้นและระยะยาว
9. ไตร่ตรอง ทบทวนกลับไปกลับมาให้รอบคอบ
10. ประเมินทางเลือกและลงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่คิด

กลวิธีในการอ่าน


๑.ความหมายของการอ่าน การอ่านคือการรับสารด้วยสมองและประสบการณ์ได้อย่างเข้าใจ สามารถพิจารณาข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นของข้อมูล และเลือกนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆได้ดีตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้อ่าน
๒.กระบวนการอ่าน กระบวนการอ่านมีขั้นตอนที่สำคัญ๔ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นที่๑ การรู้จักคำ ถ้ารู้จักคำเป็นจำนวนมากก็จะทำให้อ่านเข้าใจเรื่องราวได้มากขึ้น บางกรณีเราไม่รู้ความหมายของคำใดคำหนึ่ง แต่การรู้ความหมายของคำอื่นๆที่แวดล้อมจะช่วยให้เข้าใจความหมายได้
ขั้นที่๒ การเข้าใจความหมายของสาร เป็นกระบวนการรับสารที่มีความหมายอยู่ในถ้อยคำ วลี ประโยค ข้อความ หรือเรื่องราว แต่ละคนอาจจะเข้าใจสารไม่ตรงกัน ขึ้นอยู่กับการตีความตลอดจนพื้นฐานความรู้และประสบการณ์การอ่านของแต่ละคน
ขั้นที่๓ การมีปฏิกิริยาต่อสาร เป็นกระบวนการรับสารที่เกิดขึ้นเมื่ออ่านแล้ว“คิด” ผู้อ่านจะใช้วิจารณญาณตัดสินสารที่ได้รับมาโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ ซึ่งผู้อ่านที่สามารถอ่านเข้าใจและมีปฏิกิริยาต่อสารได้ต้องมีความรู้พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ขั้นที่๔ การรวบรวมความคิด เป็นขั้นของการตัดสินหรือประเมินได้ว่าเข้าใจสารที่อ่านมากน้อยเพียงใด สามารถสรุปรวบรวมความรู้และความคิดจากเรื่องที่อ่านมาประสารกับความรู้และประสบการณ์เดิมที่ได้สะสมไว้ นอกจากนี้ยังเป็นขั้นตอนที่ผู้อ่านได้เปรียบเทียบสิ่งใหม่กับสิ่งเก่าแล้วเลือกรับหรือจดจำตามที่ต้องการ
๓.ความพร้อมที่จะอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ ความพร้อมที่จะอ่าน หมายถึง การเตรียมตัวที่ดีเพื่อการอ่านที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้อ่านรับรู้สารได้ตรงตามเจตนาและความประสงค์
ลักษณะของผู้ที่พร้อมจะอ่าน
ลักษณะของผู้ที่ไม่พร้อมจะอ่าน
สนุกกับการอ่านเต็มใจที่จะอ่านมีเป้าหมายในการอ่านอ่านแล้วได้รับสารประโยชน์คุ้มค่ารักการอ่าน
ฝืนอ่านด้วยความจำยอมไม่รู้เรื่องที่อ่าน รู้สึกเป็นเรื่องที่อ่านยากอ่านเรื่อยๆ ไม่รู้เป้าหมายอ่านแล้วเหมือนไม่ได้อ่าน ไม่เห็นคุณค่าสาระของสิ่งที่อ่าน ไม่ชอบอ่าน
ปัจจัยที่เอื้อให้เกิดความพร้อม ความพร้อมที่จะอ่านของบุคคล
-ความพร้อมทางกาย เป็นความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับอายุสมอง สุขภาพ และความสามารถในการจำ
-ความพร้อมทางใจ ประกอบด้วยความสนใจ ความพยายาม และทัศนคติเกี่ยวกับการอ่าน
-ความพร้อมทางความคิด เป็นความพร้อมในด้านแนวคิด(ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของภาษา รวมทั้งการใช้ภาษาในการสื่อสาร) และเป้าหมายในการอ่าน(อ่านเพื่ออะไร)
ความพร้อมที่จะอ่านเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
-โอกาสและการสนับสนุน
-การฝึกฝน
-บรรยากาศในการอ่าน
-อุปกรณ์ในการอ่าน

การอ่าน


การอ่านเป็นศาสตร์ที่สำคัญยิ่งที่ระบุถึงความเจริญก้าวหน้าของชีวิต ผู้ประสบความสำเร็จในชีวิต ส่วนใหญ่เป็นนักอ่านที่ดี และเป็นนักอ่านเป็น

คราวนี้เรามาดูความหมายของการอ่านบ้างนะครับ

ความหมายของการอ่าน
การอ่านมีความสําคัญอย่างมากสําหรับคนเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษาวิชาการต่าง ๆ การอ่านทํา ให้เราทราบความรู้สึกนึกคิดของคนทั้งในอดีตและปัจจุบัน ช่วยเพิ่มพูนสติปัญญา ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหา ตลอดจนทําให้เราเข้าใจและเข้าถึงหนังสือต่าง ๆ ได้และในโลกปัจจุบันนี้การอ่านจะจําเป็นสําหรับเราทุกคนมาก เพราะเราต้องทราบข่าวสารให้ทันกันความเจริญก้าวหน้าและความเปลี่ยนแปลงของโลก นอกจากนี้เราต้องอ่านเพื่อ การดํารงชีวิตประจําวันให้มีความสุขและมีคุณภาพ ได้แก่ การอ่านฉลากยา ป้ายจราจร ป้ายห้างร้าน ป้ายโฆษณา แบบฟอร์มที่ต้องเติมข้อความ ฯลฯ กิจกรรมการอ่านจึงจําเป็นอย่างยิ่งสําหรับมนุษย์เราและเป็นกิจกรรมที่ต้อง กระทําต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพราะความสามารถในการอ่านจะมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการศึกษาค้นคว้าหาความ รู้ ดังนั้นคนเราจึงต้องฝึกฝนตนเองให้มีนิสัยรักการอ่านและเป็น นักอ่านอย่างมีคุณภาพ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2538 : 941) ให้ความหมายการอ่านไว้ว่า "อ่าน หมายถึง ว่าตามตัวหนังสือออกเสียงตามตัวหนังสือดูหรือเข้าใจความจากตัวหนังสือ สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อให้ เข้าใจ" วิจิตรา แสงพลสิทธิ์และคณะ (2519 : 133) กล่าวถึงความหมายของการอ่านไว้ดังนี้ "การอ่านในใจ คือ การแปลความหมายของตัวอักษรออกมาเป็นความคิดและนําความคิดนั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ การอ่านออกเสียง คือ การเปล่งเสียงถ้อยคําและเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เขียนไว้ออกมาให้ชัดถ้อยชัดคํา และให้เป็นที่เข้าใจแก่ผู้ฟัง" ชวน เพชรแก้ว (2522 : 4) ได้กล่าวถึงความหมายของการอ่านไว้ว่า "การอ่าน คือ การแปลความ หมายของตัวอักษรออกมาเป็นความคิด และนําความคิดนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ตัวอักษร คือ เครื่องแทนคําพูด และคําพูดก็เป็นเพียงเสียงที่ใช้แทนของจริงอีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้นหัวใจของการอ่านจึงอยู่ที่ การเข้าใจความหมายของคํา" ดังนั้นถ้ากล่าวโดยสรุปแล้ว การอ่าน หมายถึง พฤติกรรมการรับสารอย่างหนึ่งที่ผู้อ่านพยายามทําความ เข้าใจสารทั้งวัจนสาร (สารที่สื่อด้วยคําพูด) และอวัจนสาร (สารที่สื่อด้วยสัญลักษณ์อย่างอื่น) จากนั้นผู้อ่านเกิด ความคิด ความเข้าใจแล้วสามารถนําความคิด ความเข้าใจนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

23 กรกฎาคม 2552

ความสำคัญของการฟัง


ความสำคัญของการฟัง

การสื่อสารในชีวิตประจำวันของคนเราใช้การฟังมากกว่าทักษะอย่างอื่น การฟังเป็นความสามารถในการรับรู้สิ่งที่ได้ยินแล้ว สามารถตีความหรือจับใจความสิ่งที่รับรู้นั้นสามารถเข้าใจและจดจำไว้ได้ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญาที่ต้องอาศัยการฝึกฝนบ่อย ๆ ผู้ที่ผ่านการฝึกทักษะการฟัง จะมีทักษะสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ฝึกและทักษะการฟังจะเพิ่มพูนขึ้นโดยการฝึก ซึ่งจะต้องทำเป็นเวลานาน อาจกล่าวได้ว่าต้องฝึกตลอดชีวิต
แผนภูมิอัตราส่วนของการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารแต่ละทักษะ
จากแผนภูมิจะเห็นว่าการสื่อสารในชีวิตประจำวันของคนเราใช้การฟังมากกว่าทักษะอย่างอื่น การฟังเป็นความสามารถในการรับรู้สิ่งที่ได้ยินแล้ว สามารถตีความหรือจับใจความสิ่งที่รับรู้นั้นสามารถเข้าใจและจดจำไว้ได้ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญาที่ต้องอาศัยการฝึกฝนบ่อย ๆ ผู้ที่ผ่านการฝึกทักษะการฟัง จะมีทักษะสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ฝึกและทักษะการฟังจะเพิ่มพูนขึ้นโดยการฝึก ซึ่งจะต้องทำเป็นเวลานาน อาจกล่าวได้ว่าต้องฝึกตลอดชีวิต

จุดมุ่งหมายของการฟัง
การฟังจะประสบผลสำเร็จได้ ต้องมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนชัดเจน จุดมุ่งหมายการฟังแต่ละครั้งจะแตกต่างกัน
การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ
ใจความสำคัญมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าประเด็นสำคัญของเนื้อเรื่อง ข้อใหญ่ใจความ แก่นสาร
สาระสำคัญ ความคิดหลัก และมีลักษณะเป็นข้อความโดยสรุปที่เป็นแก่นแท้ของสารหรือความคิดที่เป็นหลักสำคัญของสารนั้น ๆ
การฟังเพื่อความรู้
การฟังเพื่อความรู้ ได้แก่การฟังเรื่องราวที่เป็นวิชาการ ข่าวสาร และข้อแนะนำต่าง ๆ การฟังเพื่อความรู้จำเป็นต้องฟังให้เข้าใจและจดสาระสำคัญได้ ฉะนั้นจึงต้องฟังโดยตั้งใจฟัง โดยมีสมาธิ จึงจะบรรลุจุดมุ่งหมายในการฟัง ความรู้ที่ได้รับในการฟังแต่ละครั้ง ต้องอาศัยความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมด้วย จึงจะทำให้เข้าใจเรื่องนั้น ๆ ดีขึ้น และต้องแยกให้ได้ว่าตอนใดเป็นความรู้สึกนึกคิด ตอนใดเป็นข้อเท็จจริง หรือตอนใดเป็นความคิดเห็นของผู้พูด
การฟังเพื่อความบันเทิง
การฟังเพื่อความบันเทิง คือการฟังเรื่องราวที่สนุกสนานเพลิดเพลิน ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียด ช่วยให้จิตใจเบิกบานแจ่มใส ลืมความกังวลต่าง ๆ ได้
การฟังเพื่อความบันเทิง ผู้ฟังอาจเกิดอารมณ์และความรู้สึกเพลิดเพลินเมื่อได้ฟังเสียง อาจเป็นเสียงมนุษย์ เสียงดนตรี เสียงธรรมชาติ หรือการได้ฟังเรื่องราวที่พอใจ การฟังเสียงอ่านหนังสือนิยาย อ่านทำนองเสนาะ เป็นต้น
การฟังเพื่อแสดงความคิดเห็น
การฟังเพื่อแสดงความคิดเห็น ทุกคนมีอิสระในการคิด หากความคิดนั้นได้ผ่านการไตร่ตรองตามขั้นตอนที่เหมาะสมแล้วก็ควรเป็นที่พอใจ การแสดงความคิดเห็นเป็นกระบวนการ เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณค่าของสาร โดยปรกติแล้วมนุษย์ย่อมมีความคิดอยู่ตลอดเวลา แล้วถ่ายทอดความคิดนั้นเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียนตามกาลเทศะอันควรที่ตนพอใจหรือเหมาะสม ฉะนั้นการฟังเพื่อแสดงความคิดเห็นจึงเป็นการฟัง เพื่อแสวงหาเหตุผลและข้อเท็จจริง
การฟังเพื่อการวิเคราะห์

การวิเคราะห์ คือ การแยกแยะส่วนต่าง ๆ ของสารออกมาพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน นับว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญมากเพราะผลของการวิเคราะห์ เราจะนำไปวินิจ วิจารณ์และวิพากษ์ในลำดับต่อไป
ประโยชน์ของการฟังเพื่อการวิเคราะห์
การฟังเพื่อการวิเคราะห์ มีประโยชน์ต่อผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง เพราะผลของการวิเคราะห์เราจะนำไปวินิจ วิจารณ์ และวิเคราะห์ในโอกาสต่อไป การวิเคราะห์ทำให้ผู้ฟังต้องใช้วิจารณญาณ และแยกแยะส่วนต่าง ๆ ของสารออกพิจารณาอย่างละเอียด
ประเภทของสาร
ในการแบ่งประเภทของสารโดยยึดเนื้อหาเป็นสิ่งสำคัญนั้น สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่
1. สารที่ฟังแล้วให้ความรู้2. สารที่ฟังแล้วเกิดการโน้มน้าวใจ3. สารที่ฟังแล้วเกิดการจรรโลงใจ
การฟังอย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์นั้น ผู้ฟังต้องตั้งจุดมุ่งหมายของการฟังแต่ละครั้งให้ชัดเจนเช่นจะฟังเพื่อความบันเทิงเพียงอย่างเดียว หรือฟังแล้วได้ความรู้ แนวคิดไปด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความตั้งใจและจุดมุ่งหมายของผู้ฟังนั่นเอง

คนท้อไม่แท้ คนแท้ไม่ท้อ


วันนี้ พอดีมีโอกาสอ่านข้อความของพระมหาสมปอง และรู้สึกให้กำลังใจ จึงตั้งใจนำมาให้นักศึกษาได้อ่านด้วย


คนท้อไม่แท้ คนแท้ไม่ท้อ-------by พระมหาสมปอง[ธรรมะยกกำลัง2]
คำว่าพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสนั้นมีจริงเพราะคนชนะ จะไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆพอตกงาน เค้าก็จะไปทำอย่างอื่นจนประสบความสำเร็จ และร่ำรวยขึ้นมาได้แต่คนแพ้ จะคิดว่าการชนะเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้...มีเด็กจบปริญญาตรีคนหนึ่งไปมองหาลู่ทางขายของเมื่อเห็นว่ามีก๋วยเตี๋ยวขายเยอะแล้วก็หันมาขายข้ามหมกไก่ขายได้วันล่ะหมื่น แต่อยากเพิ่มเป็นวันล่ะแสนก็ขยายเป็น 10 สาขาทำให้เดือนหนึ่งมีรายได้มากถึง 3 ล้านบาทฉะนั้นแล้วอย่าเป็นคนด้านได้ อายอด ใจหด หมดกำลังใจเราต้องต่อสู้ แล้วทุกอย่างจะดีขึ้นอย่าไปหมดหวัง ท้อแท้กำลังใจ"คนท้อ ไม่แท้คนแท้ ไม่ท้อ"--------------พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต จากหนังสือธรมะยกกำลังสอง

การเตรียมการพูด



หลักย่อ ๆ สำหรับการเตรียมการพูด

1. จงคิดก่อนว่า จะพูดเรื่องอะไร กรณีที่ผู้เชิญไม่ได้เจาะจงหัวข้อให้จงพูดเรื่องที่เราถนัด เรื่องที่เราสนใจ

ที่สุด หรือเรื่องที่เรารู้ดีที่สุด แต่ก็ต้องมีการเตรียมการพูดอยู่ดี เพื่อเรียงลำดับขั้นตอนการพูด

2. ถ้าผู้เชิญกำหนดหัวข้อมาให้แน่นอน คราวนี้แหละที่จะต้องเตรียมด้วยการเริ่มเขียนหัวข้อไว้ก่อน แล้ว

เรียบเรียงแนวคิดประเด็นเสนอ ขยายความจากหัวข้อนั้น ๆ เป็นลำดับขั้นตอนให้ดี อย่าประมาทว่ารู้ดีแล้ว

3. หลังจากเตรียมหัวข้อ และเรียบเรียงดีแล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำรับตำราหรือสิ่งพิมพ์

ต่าง ๆ โดยเฉพาะตัวเลข วันเดือนปี ชื่อคน หรือชื่อสถานที่ต้องถูกต้องแม่นยำ

4. เมื่อเขียนและเรียบเรียงคำบรรยาย หรือคำปราศรัยเสร็จสิ้นแล้ว ก็ต้องนำมาขัดเกลา หรือตัดทอน ให้

เนื้อความสละสลวย ไม่เยิ่นเย้อหรือห้วนเกินไป เตรียมเหตุผล ข้ออ้างอิง ตัวอย่าง คำคมต่าง ๆ ให้พร้อม เพื่อเพิ่ม

สีสันการบรรยายให้น่าฟัง

5. เสร็จแล้วก็ลองนำมาอ่านดู ออกเสียงดัง ๆ หลาย ๆ เที่ยว จนจำขึ้นใจ ดูว่ามีคำนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุปครบถ้วนไหม

6. การเตรียมการพูด ไม่ใช่การท่องจำ แต่ต้องแม่นในแนวคิด และประเด็นเสนอ อย่าไปจำคำพูดของใคร

มาทั้งดุ้น นอกจากจะหยิบยกคำคม หรือวาทะของบุคคลสำคัญมาประกอบการพูด และควรให้เกียรติท่านเหล่านั้น

ด้วยการเอ่ยชื่อท่านหรือชื่อหนังสือด้วย

นักพูดที่ดี ต้องมีอะไรเป็นของตนเองบ้างในการพูด หากจำเป็นต้องจำคำเขามาพูด ก็ให้คิดดัดแปลงบ้าง

อย่าให้เหมือนกันแบบลอกเอามาทั้งดุ้น นักพูดต้องอ่านมากและฟังมาก

7. จะต้องฝึกหัดพูดคนเดียวหน้ากระจกหลาย ๆ ครั้ง จะวางท่าทางอย่างไร จะใช้ภาษามือให้เหมาะสม

กลมกลืนอย่างไร จะวางสีหน้าอย่างไรถึงจะดูเป็นธรรมชาติ อย่าพยายามใช้มือประกอบ จนขวักไขว่น่าเวียนหัว

จงฝึกซ้อมให้เหมือนกับการขึ้นพูดจริง จับเวลาด้วย เพื่อตัดทอนเพิ่มเติมตามเวลาที่กำหนด ฝึกมากครั้ง

ได้ก็ยิ่งดี จะได้มีความคล่องตัว และมั่นใจมากขึ้น

วิธีการแก้ความประหม่าในการพูด



นักพูดหน้าใหม่ ควรจะปรับเปลี่ยนความเข้าใจผิด ๆ ให้เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องต่อไปนี้

เป็นพลังหรือ ทรัพยากรที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวของแต่ละคนอยู่แล้ว

เรื่องได้ราว ในขณะที่อีกพวกหนึ่ง พูดแบบทำลายมิตร พูดเก่งในการนินทาว่าร้าย หรือพูดส่อเสียดยุยงผู้อื่น พวก

หลังนี่เขาเรียกว่าพวก "ปั้นน้ำเป็นตัว" สอดแทรกอยู่ในหลายวงการ ทั้งในสภากาแฟและสภาผู้ดี ถ้าได้ฟังคน

ประเภทนี้พูดก็ขอให้ฟังหูไว้หู เพราะพวกนี้ดีแต่พูด แต่ทำไม่เป็น

หน้า ไม่ว่าในเมืองไทยหรือว่าที่ไหน ในโลกที่ได้ชื่อว่า "เซียน" ย่อมมีความประหม่า และเกิด

อาการสั่นเวลาหัดพูดใหม่ ๆ ด้วยกันทุกคน
หวังเป็นอันขาด

จะแก้ความประหม่าหรืออาการสั่นได้อย่างไร ?

อวยพร เป็นวิทยากรผู้บรรยาย การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน แม้กระทั่ง จะพูดแนะนำตักเตือนลูกหลานหรือลูกน้อง

ว่ากันว่าความสำเร็จของการพูดอยู่ที่การเตรียม 70% อีก 30% อยู่ที่การพูด

เท่ากับขึ้นไปรับความพ่ายแพ้"

เปรียบเสมือนกับการก้าวสู่สังเวียนการต่อสู้ ถ้าไม่รู้ว่าจะสู้กับใคร รังแต่จะเสียเปรียบ ฉะนั้นต้องรู้ว่า พูดให้ใครฟัง

มีระดับการศึกษาอย่างไร มีอาชีพอะไร อายุอานามเท่าไร แก่หรือหนุ่มสาว เป็นชายหรือหญิง

การพูด



ความสำคัญของการพูด
พระพุทธองค์ทรงตรัสเป็นบทบาลีไว้ว่า
"สุภาสิตา จะ ยาวาจา เอตัมมัง คะละมุตตะมัง"
(การพูดดีเป็นมงคลอันประเสริฐแก่ชีวิต)
บุคคลที่จะประสบความสำเร็จนอกจากจะเป็นผู้ที่มี
- ความเฉลียวฉลาดรอบรู้ (ปัญญาพละ)
- ความขยันขันแข็ง (วิริยะพละ)
- ความความซื่อสัตย์สุจริต (อนวัชระพละ) แล้วองค์ประกอบสำคัญที่สุดคือ สังคพละ หรือ
สังคหวัตถุ ๔ ได้แก่ โอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สังเคราะห์คน วางตนเหมาะสม
ปิยะวาจา แปลว่า "วาจาอันเป็นที่รัก" คือคำพูดที่มีแต่ประโยชน์ แก่คนพูดและคนฟัง ครองใจ ผู้อื่นได้เพราะ
1. สร้างเสน่ห์ให้ตัวผู้พูด
2. สร้างพลังอำนาจให้ตัวผู้พูด
3. สร้างความเชื่อถือให้ตัวผู้พูด
พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "ชื่อว่าวาจาหยาบ ย่อมทำความพินาศไม่เพียงเป็นที่ไม่น่าพอใจของคน เท่านั้น แม้แต่สัตว์เดียรัจฉาน ก็ไม่พอใจด้วย"


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 6 ทรงให้ความสำคัญแก่ "ปาก" ไว้ในพระราชนิพนธ์
วิวาหพระสมุทร ไว้ดังนี้
ปากเป็นเอก เลขเป็นโท โบราณว่า

หนังสือเป็นตรี มีปัญญา ไม่เสียหลาย
ถึงรู้มากไม่มีปากลำบากกาย

มีอุบายพูดไม่เป็นเห็นป่วยการ

สุนทรภู่ กวีเอกได้สาธกให้เห็นความสำคัญของการพูดไว้ในบทประพันธ์ของท่านว่า "คนเราเป็น
ที่รักที่นิยมก็อยู่ที่คำพูด หรืออาจจะเดือดร้อนก็เพราะคำพูด"
เป็นมนุษย์สุดนิยมที่ลมปาก

จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา

แม้พูดดีมีคนเขาเมตตา
จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ

สำนวนไทย.. ไม่เก่าเลย


สำนวนไทย .. ไม่เก่าเลย

เพราะ “ภาษาไทย” .. ไม่ใช่เพียงแต่ สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร

แต่เป็น รากเหง้า .. อันแสดงถึง ความเป็นมา และเป็นไป ของชาติไทยนี้ ..

เดือนเมษายน เดือนแห่งการกำเนิดของข้าพเจ้า ปกติ ก็เป็นเดือนที่มีอุณหภูมิร้อนจัดอยู่แล้ว สำหรับปีนี้ .. เมื่อผนวกกับความแรง ของการเมืองช่วงนี้ด้วยแล้ว ความร้อนระอุ ยิ่งทับทวี ..

ในช่วงที่ผ่านมา .. ข้าพเจ้าแม้จะยุ่งอยู่กับงาน และการประชุมโครงการใหม่อันเกินบรรยาย แต่ก็ยังมีโอกาสได้ติดตามความเป็นไปของสังคม ความแตกแยก และความต้องการเอาชนะ ตลอดจน ความพยายาม ที่จะ Discredit ประเทศชาติ เพื่อก่อความเสียหายให้ชาติมากที่สุด ของคนเห็นแก่ตัว บางคนบางกลุ่ม

ก็นะ .. ในบรรดาคนทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมมีทั้ง คนที่ดี และคนที่ไม่ดี .. ปะปนกันมากหมาย อีกทั้งในบรรดา คนที่ถูกจำแนกว่า “เลว” หรือ “ไม่ดี” นั้น ก็ยังต้องแบ่งเป็นเลวแบบที่พอคุยได้ กับแบบที่หลับหูหลับตาเลว ก็ยังมีให้เห็นอยู่ทั่วไป ดังนั้น หากจะมองแค่สิ่งภายนอกอย่างสีเสื้อ แล้วตัดสิน ความดี หรือ ความเลว คงไม่ยุติธรรมสักเท่าใดนัก .. แต่ก็อดตัดสินไปแล้วไม่ได้

ว่าที่จริง .. ก่อนจะเขียนเรื่องนี้ ข้าพเจ้า นึกถึงเรื่องที่อดีตผู้นำหน้าเหลี่ยม ที่กำลังตั้งหน้าตั้งตา ชิงพื้นที่สื่ออินเตอร์ อย่างไม่คิดถึงผลพวงอันจะตามมา ต่อบ้านเกิดเมืองนอน กันบ้างเลย ... ไม่ว่า จะด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม .. ข้าพเจ้าเห็นแต่ความเสื่อม ความเสียหาย และเสียใจของทุกคน ในเบื้องต้น .. ข้าพเจ้า นึกถึงเพียงสำนวนไทย เพียงสำนวนหนึ่งคือ “หมาเห่าใบตองแห้ง” ..

หมาเห่า .. ใบตองแห้ง ความหมายว่า พูดเอะอะแสดงวาจาว่าเป็นคนเก่งกล้าไม่กลัวใคร แต่จริง ๆ แล้วกลับขี้ขลาด และไม่กล้าจริงดังปากเห่า

สำหรับสำนวนนี้ เป็นสำนวนที่มีการนำมาเปรียบเทียบกับ เจ้าสุนัข ที่ชอบเห่าใบตองแห้ง หรือก็คือใบกล้วยที่แห้งติดอยู่กับต้น เวลาลมพัดใบกล้วยแห้งจะแกว่งหรือเสียดสีกัน แกรกกราก สุนัขเห็นอะไรไหว ๆ หรือได้ยินเสียงแกรกกรากก็จะเห่าขึ้น แต่ก็เห่าไปอย่างนั้นเอง ไม่กล้าไปกัด ใบตองแห้ง กิริยาของสุนัขนี้จึงนำมาเปรียบกับคนที่ชอบพูดจาเอะอะในลักษณะที่อวดตัวว่าเก่งกล้า แต่ที่จริงแล้วก็ไม่ได้กล้าสมกับคำพูด เช่น พวกนี้หมาเห่าใบตองแห้งทั้งนั้น ได้แต่ด่าเขาลับหลัง ถ้าเขาเอาเข้าจริง ก็ขี้คร้านจะหนีไม่ทัน

คำบรรยายที่ว่านั้น ข้าพเจ้าหาได้แต่งเติมเองแต่อย่างใด เพราะได้ไปยกมาจาก บทวิทยุ รายการ “รู้รักภาษาไทย” ที่ออกอากาศ ทุก ๆ เช้า มาแบบทั้งดุ้น ไม่น่าเชื่อ ก็คงต้องเชื่อนะคะ เพราะตรงกับความเป็นจริง แบบที่ ไม่ต้องอธิบายกันเลยทีเดียว .. ที่สำคัญ ข้าพเจ้าเชื่อว่า .. ไม่ต้องบอก ท่านทั้งหลาย ก็ต้องพอนึกหาตัวอย่าง รอบ ๆ ตัว ได้ไม่ยากเลย

“สำนวนไทย” .. ไม่ได้เป็นเพียงการกำหนดขึ้นมาใช้ลอย ๆ แต่ได้ผ่านการพิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่า ว่าเป็นสิ่งที่แสดงความหมายได้จริง และเข้ากับทุกยุคสมัย แม้เราจะไม่สามารถหาที่มาเหล่านั้นได้ แต่ก็ทำให้ทราบว่า คนไทยนั้น เป็นผู้เจ้าบทเจ้ากลอน นิยมประดิษฐ์คำ ให้เป็นสำนวน โวหารงาม ๆ เมื่อยามเป็นนักเรียน .. เพื่อนบางคน อาจจะมีบ่นกันบ้าง หากต้องท่องจำสำนวนต่าง ๆ ให้ขึ้นใจ .. เพื่อทำข้อสอบภาษาไทยให้ได้ผลเลิศ

หากแต่ข้าพจ้ายามนี้ กลับรู้สึกขอบพระคุณ ครูบาอาจารย์เสียเหลือเกิน ที่บังคับให้พวกเราในวันนั้น เพราะหากปราศจากท่านเหล่านั้นแล้ว .. ข้าพเจ้าคงเป็นผู้ไร้รสนิยม ด้านภาษาไทย ของชาติตนเอง

ความงดงามของสำนวนไทย นอกจากจะทำให้จิตใจสำเหนียก ความผิด-ความถูก และความดีแล้ว ข้าพเจ้า ยังซึบซับว่า ความงามและความจริงแท้ของภาษาไทย ช่วยขัดเกลา อารมณ์ของเรา ให้อ่อนโยน และดีงามที่สุดอีกประการหนึ่งด้วย ...

ก่อนนั้น .. ในวันวานของข้าพเจ้า หากจะพูดถึง “สำนวนไทย” ข้าพเจ้ามักนึกถึง ความพากเพียร ก็ในวิชาภาษาไทย วันหนึ่ง .. คุณครู ให้แบ่งกลุ่มกัน และให้ออกมาวิพากษ์กัน แบบโต้วาทีเล็ก ๆ ว่า สำนวนต่อไปนี้ สำนวนไหน ที่แสดงถึงความพยายาม ต่อความยากลำบากมากกว่ากัน ...
“ฝนทั่งให้เป็นเข็ม”
"เข็นครกขึ้นภูเขา” และ
“งมเข็มในมหาสมุทร”
สำหรับท่านนั้น เห็นว่า สำนวนใดคะ ที่เป็นตัวแทน ความพยายามอย่างยิ่งยวด ...
. .
แต่ถ้าหากย้อนกลับมาในประเทศไทยวันนี้ .. ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นความสวยงาม แบบเก่าอีกแล้ว ที่เหลือตอนนี้ .. มีแต่เรื่องเน่า เรื่องเลวร้าย เรื่องรันทดท้อใจ .. ความเสื่อม และความน่ารังเกียจ อย่าง หมาจนตรอก น้ำผึ้งหยดเดียว ปลาเน่าตัวเดียวเหม็นทั้งข้อง อะไรประมาณนี้

อย่างไรก็ตาม ในบรรดาสำนวนไทย รวมสุภาษิตไทยทั้งหมด มีอยู่เพียงหนึ่งเดียว ที่ข้าพเจ้า จดจำ ความหมาย ได้อย่างขึ้นใจ มาตั้งแต่เด็ก โดยหาเหตุผลใด ๆ ไม่ได้เลย

.. น้ำลดตอผุด .. เมื่อหมดอำนาจ ความชั่วก็ปรากฎ ..

ขอบคุณความหมายของ “หมาเห่าใบตองแห้ง”: http://www.sarapee.ac.th/index.php?name=Content&pa=showpage&pid=638

หลักสูตร ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

รหัสวิชา : ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

เนื้อหารายวิชา ( Course Description )
ความเข้าใจภาษาไทยและทักษะการพูด การเขียน การอ่าน และการฟัง วิเคราะห์ตัวอย่างภาษาเขียนที่ดีประเภทต่างๆ เพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการเขียนรายงานและติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อนักศึกษาเรียนจบแล้วจะมีความสามารถและคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1) เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายลักษณะทั่วไปของการสื่อสาร ภาษา และภาษาไทยได้
2 ) เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้ทักษะ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ทางภาษาไทยได้ เช่น สามารถเป็นวิทยากรมืออาชีพ สามารถเขียนจดหมายสมัครงานอย่างมืออาชีพ สามารถเขียนรายงานทางวิชาการ เขียนย่อหน้า และเขียนตอบข้อสอบอัตนัย ได้อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ตลอดจนการฟัง การพูดในที่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมตามสภาวการณ์ต่างๆ
3) นักศึกษาสามารถนำทักษะภาษาไทยไปใช้อย่างมีจิตสำนึกและมีความรับผิดชอบผ่านสื่อต่างๆ ทางสังคม

ชื่อผู้สอน อาจารย์ณธายุ มาอากาศ
วัน – เวลาในการติดต่อ วันจันทร์ เวลา 08.00 – 16 .00 น.
อีเมล์ในการติดต่อ Natayu_m@hotmail.com
ระยะเวลาในการเรียน ภาคการศึกษา 1 / 2552จำนวนชั่วโมงที่สอนต่อสัปดาห์ 3 ชั่วโมง / สัปดาห์
ประมวลการเรียนรายวิชา
เนื้อหารายวิชาต่อสัปดาห์ (Course Outline)
ครั้งที่
วัน / เดือน / ปี

เนื้อหา
1. 25-29 พ.ค. 52
- แนะนำรายวิชา
- การใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร
2. 1 - 5 มิ.ย. 52
- ปัญหาการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน
- ฝึกปฏิบัติหัวข้อปัญหาการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน
3. 8-12 มิ.ย. 52
- การฟัง
- ฝึกปฏิบัติการฟัง
4. 15-19 มิ.ย. 52
- สอบการฟัง
- หลักการพูด
5. 22-26 มิ.ย. 52
- สอบการพูดครั้งที่ 1
6. 29 มิ . ย . - 3 ก.ค. 52
- สอบการพูดครั้งที่ 2
7. 6-10 ก.ค . 52
- หลักการอ่าน
8. 13 - 17 ก.ค. 52
- ฝึกปฏิบัติการอ่าน (ต่อ)
20-31 ก.ค. 52 สอบกลางภาค
9. 3-7 ส .ค. 52
- ฝึกปฏิบัติการเขียนย่อหน้า
- การเขียนย่อหน้า
10. 10-14 ส.ค. 52
- สอบการเขียนย่อหน้า
- การเขียนรายงานทางวิชาการ
11. 17-21 ส.ค. 52
- ฝึกปฏิบัติการเขียนรายงานทางวิชาการ
12. 24-28 ส.ค. 52
- สอบการเขียนรายงานทางวิชาการ
13. 31 ส . ค -4 ก.ย. 52
- การเขียนตอบข้อสอบอัตนัย
14. 7-11 ก.ย. 52
- ฝึกปฏิบัติการเขียนตอบข้อสอบอัตนัย
15. 14-18 ก.ย. 52
- สอบการเขียนตอบข้อสอบอัตนัย
- สรุป ทบทวน และตอบข้อซักถาม
21 ก.ย. -2 ต.ค 2552 สอบปลายภาค
* ไม่อนุญาตให้นักศึกษาเปลี่ยนกลุ่มเรียน เพราะหากเกิดความผิดพลาดในการบันทึกเกรด จะไม่อนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น
การวัดผลการเรียน (Evaluation) 100%
1. คะแนนเก็บตลอดภาค 60 %
- ทดสอบย่อย แบบฝึกหัด 30 %
- ทดสอบย่อย ส่วนส่งงานและวิจารณ์งาน 30 %
- สอบระหว่างภาค 15 %
- การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 10 %
2. สอบปลายภาค 15 %
รายชื่อหนังสืออ่านประกอบ
คณาจารย์ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ . 2543. การใช้ภาษาไทย 1- 2. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .
คณาจารย์ภาควิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย . 2542. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร . พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สามัคคีสาร จำกัด ( มหาชน ).
จุไรลักษณ์ ลักษณะศิริ . 2529. ภาษากับการสื่อสาร . นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร .
เจือ สตะเวทิน . 2518. การใช้ภาษาระดับปริญญา . กรุงเทพฯ : สุทธิสารการพิมพ์ .
ตวงรัตน์ คูหเจริญ และคณะ . 2538. ภาษาไทยพื้นฐาน . กรุงเทพฯ : ธีรพงษ์การพิมพ์ .
ทัศนีย์ ศรีสมศักดิ์ . 2544. ภาษากับการสื่อสาร . เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย .
ศศิธร ธัญลักษณานันท์ . 2542. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและสืบค้น . กรุงเทพฯ : เธิร์ดเวฟ
เอ็ดดูเคชั่น .
สุมามาลย์ พงษ์ไพบูลย์ . 2544. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร . เอกสารประกอบการบรรยายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย .
สุโขทัยธรรมาธิราช , มหาวิทยาลัย . 2539. เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร
หน่วยที่ 1 – 15 นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช .
____________ . 2541. เอกสารการสอนชุดวิชาการเขียนเพื่อการสื่อสารธุรกิจ หน่วยที่ 1 - 15.
พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช .
____________. 2542. เอกสารการสอนชุดวิชาการใช้ภาษาไทย หน่วยที่ 1 - 15 ( ฉบับปรับปรุง ). พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช .
อนุสรณ์ พงษ์ไพบูลย์ . 2543. การเขียนสื่อสารเพื่อการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ . กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏสวนดุสิต .

22 กรกฎาคม 2552

สรุป ภาษากับการสื่อสาร

ภาษากับการสื่อสาร
ภาษา หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจของระหว่างมนุษย์ โดยใช้ภาษาในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดไปยังผู้อื่น
ธรรมชาติของภาษา
ภาษาเกิดจากการเรียนรู้ เลียนแบบ ถ่ายทอดจากบุคคลในสังคมเดียวกัน
ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
ภาษามีโครงสร้างเป็นระบบระเบียบ
ภาษาประกอบด้วยเสียงและความหมาย
ภาษากำหนดโดยสังคม
ภาษามีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามความนิยม ตามวัฒนธรรมหรือวิทยาการใหม่ ๆ
ประเภทของภาษา
วัจนภาษา(ภาษาถ้อยคำ) คือ เสียงที่มนุษย์ตกลงกันเพื่อทำหน้าที่แทนมโนภาพ
อวัจนภาษา (ภาษาสัญลักษณ์) คือ กริยาท่าทาง ที่ปรากฏแล้วสามารถสื่อความหมายได้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษากาย
ระดับของภาษา
ระดับของภาษา คือ ความลดหลั่นของถ้อยคำ และการเรียบเรียงคำเพื่อให้เหมาะสมกับ โอกาส สถานที่ กาลเทศะ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร
ภาษาแบบแผน ภาษาระดับนี้ใช้ในการพูดและการเขียนที่เป็นทางการ โดยคำนึงถึงความถูกต้องตามกฏเกณฑ์ระเบียบของภาษา ความสุภาพและมารยาทเป็นประการสำคัญ
ภาษากึ่งแบบแผน ภาษาระดับนี้ใช้ในการพูดและการเขียนที่ไม่เป็นทางการมากนัก คล้ายกับภาษาในระดับแรก แต่ลดความเป็นการเป็นงานลงมา
ภาษาปากหรือภาษากันเอง ภาษาระดับนี้ใช้พูดในชีวิตประจำวันเป็นส่วนใหญ่ ใช้ในวงจำกัด
ภาษาต่ำ ภาษาระดับนี้ถือเป็นคำไม่สุภาพ จัดเป็นคำต่ำ หรือคำหยาบ นิยมพูดระหว่างเพื่อนในวัยเดียวกันและมักใช้เฉพาะที่รโหฐาน ไม่นิยมเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
ภาษามาตรฐาน
เหตุที่ต้องมีการเลือกภาษามาตรฐาน เพราะว่า ในแต่ละประเทศมีภาษาถิ่นต่างๆ มากมายหลายชนิด ด้วยเหตุนี้จำเป็นต้องเลือกภาษาถิ่นใด ถิ่นหนึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในวงราชการ คนไทย จึงเลือก ภาษาถิ่นกรุงเทพมหานคร เป็นภาษามาตรฐาน

ตัวอย่างข้อสอบการพูด

การพูดนับได้ว่าเป็นศาสตร์ที่มีอานุภาพมากที่สุด เราสามารถพูดให้คนเป็นหรือคนตายได้ จากคำพูดของเรา
มาดูตัวอย่างกันนะครับว่า มีอะไรบ้าง
๑. ข้อใดให้ความหมายของการพูดได้ถูกต้องชัดเจนที่สุด
ก. การติดต่อสื่อสารของมนุษย์ด้วยการใช้ถ้อยคำและน้ำเสียง
ข. พฤติกรรมการใช้ถ้อยคำ น้ำเสียงและอากัปกิริยาของมนุษย์
ค. การเปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำเพื่อการระบายอารมณ์ของมนุษย์
ง. การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของผู้พูดไปยังผู้ฟังด้วยน้ำเสียง ถ้อยคำและกิริยาท่าทางต่าง ๆ
เฉลยข้อ ง
แนวคิด จากโจทย์ถามว่าอะไรคือความหมายของการพูดถูกต้องชัดเจนที่สุด แสดงว่า ทุกข้อถูกต้องทั้งหมด แต่ข้อที่ครอบคลุมความหมายของการพูด คือ ข้อ ง
๒. “เมื่อมีการชุมนุมประท้วงนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็มักจะมีตัวแทนฝ่ายรัฐบาลมาเจรจาทำความเข้าใจแก่กลุ่มผู้ประท้วงอยู่เสมอ” จากข้อความนี้ชี้ให้เห็นว่าการพูดมีความสำคัญอย่างไร
ก. การคลี่คลายเหตุการณ์ ข. การเมืองภายในประเทศ
ค. มนุษยสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน ง. การปกครองและควบคุมสังคม
เฉลย ก
แนวคิด จากการชุมนุมจะมีตัวแทนฝ่ายรัฐบาลมาเจรจา จุดประสงค์หลักอย่างแรก ที่ผู้เจรจาต้องทำคือ คลี่คลายเหตุการณ์บ้านเมืองให้สงบให้เร็วที่สุด
๓. สำนวนคำในข้อใดแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการพูด
ก. พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
ข. พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย
ค. สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล
ง. ปากปราศรัย ใจเชือดคอ
เฉลยข้อ ค
แนวคิด พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง หมายถึง มีคำบางคำพูดไปแล้วอาจไม่เกิดผลดีต่อตัวเองและผู้อื่น เหตุฉะนั้นเลยไม่พูดดีกว่า
พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย หมายถึง การเลือกใช้คำพูด ให้พิจารณาเลือกแต่คำพูดที่ดี ถ้าเลือกที่จะพูดไม่ดีจะเกิดผลร้ายกับตัวเอง (เน้นไปที่การเลือกใช้คำ)
ปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ หมายถึง การพูดดี แต่ประสงค์ร้าย
ขอนี้คำตอบเลยเป็น ข้อ ค สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล จึงกลายเป็นความสำคัญของการพูดมากที่สุด

๔. องค์ประกอบใดของการพูดที่สามารถชี้วัดได้ว่าการพูดในครั้งนั้นสัมฤทธิ์ผล
ก. ผู้ฟัง ข.สาร ค. สื่อ ง. ผลตอบสนอง
เฉลย ง
แนวคิด สิ่งที่เป็นตัวชี้วัดว่าการพูดสำเร็จหรือไม่ อยู่ที่ผลตัวสุดท้าย นั่นคือ ปฏิกริยาตอบกลับ (ผลตอบสนอง)
๕. ข้อใดให้ความหมายของการพูดต่อหน้าชุมชนได้ถูกต้องชัดเจนที่สุด
ก. การที่บุคคลแสดงความรู้ ความรู้สึกต่อหน้าคู่สนทนา
ข. การที่บุคคลเสนอแนะข้อคิดเห็นต่อหน้าที่ประชุมสาธารณะ
ค. การที่บุคคลกล่าวแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนในห้องบันทึกเสียง
ง. การที่บุคคลพูดแสดงความรู้ ความรู้สึกนึกคิดต่อหน้าผู้ฟังจำนวนมาก
เฉลย ง
แนวคิด ในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึกนึกคิด ไปยังผู้ฟัง
ข้อนี้คำตอบจึงเป็นข้อ ง เพราะครอบคลุมเนื้อหาและความหมายมากที่สุด
๖. ข้อใดเป็นความจำเป็นในการพูดต่อหน้าชุมชน
ก. เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในหมู่คณะ
ข. เพื่อขอร้องผู้อื่นให้เห็นความสำคัญของตน
ค. เพื่อถ่ายทอดวิทยาการใหม่ ๆ สู่บุคคลอื่น
ง. เพื่อให้สมาชิกในสังคมฝึกฝนและนำไปปฏิบัติได้
เฉลย ค
แนวคิด จากข้อที่แล้วสิ่งที่จำเป็นที่สุดในการพูดต่อหน้าที่ชุมชนคือ การถ่ายทอดคามรู้ ความรู้สึกนึกคิด ไปยังผู้ฟัง
๗. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการพูดต่อหน้าชุมชน
ก. ช่วยทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
ข. ช่วยเผยแพร่ความคิดเห็นของบุคคลได้สะดวกและรวดเร็ว
ค. ช่วยให้มนุษย์สามารถชี้แนะการแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้แก่สังคม
ง. ช่วยถ่ายทอดวัฒนธรรม ปลูกฝังคุณธรรมและเผยแพร่วิทยาการใหม่ ๆ
เฉลย ก
แนวคิด จากคำตอบทั้งหมด ข้อ ก เป็นข้อที่ตรงความหมายของการพูดต่อหน้าที่ชุมชนน้อยที่สุด
๘. การพูดในข้อใดมีจุดมุ่งหมายเพื่อจรรโลงใจผู้ฟัง
ก. การเล่าประสบการณ์ชีวิต ข. การเชิญชวนให้เลิกสูบบุหรี่
ค. การพูดหาคะแนนเสียงสนับสนุน ง. การพูดชี้แจงให้ตระหนักในภัยของโรคเอดส์
เฉลย ก
แนวคิด การพูดเพื่อจรรโลงใจ คือ การพูดเรื่องที่ฟังแล้วสบายใจ ให้ทัศนคติ
การเชิญชวนให้เลิกสูบบุหรี่ เป็น การพูดเพื่อจูงใจ(โน้มน้าวใจ)
การพูดหาคะแนนเสียงสนับสนุน เป็น การพูดเพื่อชักจูงใจ (หว่านล้อมให้เลือก)
การพูดชี้จแงให้ตระหนักในภัยของโรคเอดส์ เป็น การพูดเพื่อให้ความรู้
๙. การโฆษณาสินค้าที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน จัดเป็นการพูดเพื่อจุดมุ่งหมายใด
ก. การพูดเพื่อจรรโลงใจ ข. การพูดเพื่อโน้มน้าวใจ
ค. การพูดเพื่อค้นหาคำตอบ ง. การพูดให้ความรู้และข้อเท็จจริง
เฉลย ข
แนวคิด การโฆษณา เป็นการเชิญชวนให้เชื่อ โดยจุดประสงค์เพื่อโน้มน้าวใจผู้บริโภคให้หันมาซื้อของที่โฆษณา
๑๐. การกล่าวคำปราศรัยของบุคคลสำคัญ จัดเป็นการพูดในรูปแบบใด
ก. การแสดงสุนทรพจน์ ข. การแสดงปาฐกถา
ค. การสัมภาษณ์ ง. การอภิปราย
เฉลย ก
แนวคิด การกล่าวสุนทรพจน์ จัดเป็นการกล่าวคำปราศรัยอย่างหนึ่ง

ตัวอย่างข้อสอบการฟัง

การฟังเป็นศาสตร์ที่เรารับรู้เยอะที่สุด งานวิจัยแจ้งว่า มนุษย์เราฟังเสียงต่างๆ รอบตัว 800-1200 คำ/นาที
ด้วยความสำคัญดังกล่าว คราวนี้มาดูนะครับว่า แนวข้อสอบมีอะไรบ้าง
๑ ข้อใดเป็นการสื่อสาร
ก. จราจรโบกรถให้รถแล่นต่อไป
ข. นักฟุตบอลกอดคอกันเมื่อยิงประตูได้
ค. ชายหนุ่มครางออกมาด้วยความผิดหวัง
ง. หญิงชราอุทานออกมาด้วยความแปลกใจเมื่อหลานพูดได้
๒. ข้อใดทำให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล
ก. ผู้ส่งสาร
ข. ผู้รับสาร
ค. สาร
ง. กระบวนการสื่อสาร
๓. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการสื่อสาร
ก. ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
ข. สาร และ ช่องทาง
ค. ภาษา และช่องทาง
ง. ช่องทางและปฏิกิริยาตอบกลับ
๔. ข้อใดเป็นความหมายของการสื่อสาร
ก. ป้าบอกหลานว่า “พระตกน้ำ”
ข. นักร้องสาวร้องเพลงว่า ลาก่อน
ค. ชายหนุ่มละเมอว่า “ผมรักคุณ”
ง. นักฟุตบอลตระโกนว่า เราทำได้แล้ว
๕. ข้อใดเป็นการสื่อสารในสมัยโบราณที่ปัจจุบันยังนำมาใช้อยู่
ก. ควันไฟ
ข. เป่าเขาสัตว์
ค. ม้าเร็ว
ง. จดหมาย
๖. ข้อใดถือได้ว่าเป็นการสื่อสารที่ใช้ภาษาถ้อยคำ
ก. นิดพยักหน้ารับข้อเสนอ
ข. แดงไหว้ขอบคุณคุณครู
ค. ดำชูสองนิ้วแสดงถึงชัยชนะ
ง. เก๋ข้ามถนนตรงทางม้าลาย
๗. การฟังในข้อใดเป็นการฟังเพื่อให้เกิดสติปัญญาและความรู้
ก. ฟังข้อแนะนำและฟังเพลงคลาสสิก
ข. ฟังการอภิปรายหรือสารคดี
ค. ฟังคำแถลงการณ์และข่าวสาร
ง. ฟังการโต้วาทีและนิทาน
๘. การตั้งจุดมุ่งหมายในการฟังที่มีประโยชน์เด่นชัดที่สุดในข้อใด
ก. ประหยัดเวลา
ข. ได้เนื้อหาสาระมากกว่า
ค. ทำให้เกิดการตั้งใจฟังมากขึ้น
ง. ได้เนื้อหาสาระตรงตามวัตถุประสงค์
๙. มารยาทในการฟังในข้อใดที่มีความสำคัญมากที่สุด
ก. ยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นกันเองต่อผู้พูด
ข. ฟังด้วยความสงบ สำรวม กิริยาท่าทาง
ค. ให้เกียรติผู้ฟัง
ง. สนใจต่อการรับฟัง
๑๐. สิ่งใดที่แสดงถึงการสื่อสารนั้น ๆ ได้ผลสมบูรณ์
ก. มีผู้ส่งสาร
ข. มีผู้รับสาร
ค. มีสื่อและมีการตอบสนอง
ง. มีการตอบสนอง
เฉลยข้อสอบ
1. ก 2. ง 3. ค 4. ก 5. ง 6. ค 7. ข 8. ง 9. ง 10. ง
ต่อไปเป็นเรื่องของการฟัง บ้างครับ

การฟังเป็นศาสตร์ที่เราใช้เยอะที่สุด งานวิจัยแจ้งชัดเจนว่า การฟังของมนุษย์โดยเฉลี่ย 800 - 1200 คำ/นาที คราวนี้เรามาเรียนรู้แนวข้อสอบเรื่องการฟังบ้างนะครับ

ตัวอย่างข้อสอบภาษากับการสื่อสาร

คราวนี้เรามาดูตัวอย่างข้อสอบกันบ้างนะครับ
เรื่อง ภาษากับการสื่อสาร
ข้อ ๑ ข้อใดคือ ความหมายของภาษาที่สมบูรณ์ที่สุด
ก. การใช้ภาษาที่เป็นแบบแผน และเกิดสัมฤทธิ์ผลในการสื่อสาร
ข. การใช้ภาษาให้เหมาะสมตามสัมพันธภาพของบุคคล โดยคำนึงถึงกาลเทศะ
ค. การใช้ภาษาโดยคำนึงถึงสัมพันธภาพระหว่างบุคคล โอกาส สถานที่และเกิดสัมฤทธิ์ผลในการสื่อสาร
ง. การใช้ภาษาโดยคำนึงถึงความรู้สึกนึกคิดของตนเอง
ข้อ ๒ ถ้าหากส่งสารผิดระดับจะเกิดผลเสียในข้อใดมากที่สุด
ก. ความในสารไม่ชัดเจน
ข. การสื่อสารไม่สัมฤทธิ์ผล
ค. สื่อความหมายไม่ถูกต้อง
ง. ภาษาไม่ไพเราะ สละสลวย
ข้อ ๓ หนังสือที่ใช้ติดต่อกับหน่วยงานราชการหรือติดต่อในวงการธุรกิจ ควรใช้ภาษาในระดับใด
ก. ภาษาระดับพิธีการ
ข. ภาษาระดับทางการ
ค. ภาษาระดับกึ่งทางการ
ง. ภาษาระดับไม่เป็นทางการ
ข้อ ๔ การบรรยายในชั้นเรียน การประชุมในบริษัท การบรรยายข่าว นิยมใช้ภาษาระดับใด
ก. ภาษาระดับกันเอง
ข. ภาษาระดับไม่เป็นทางการ
ค. ภาษาระดับกึ่งทางการ
ง. ภาษาระดับทางการ
ข้อ ๕ การเขียนจดหมายระหว่างเพื่อน การรายงายข่าว การเสนอบทความในหนังสือพิมพ์ ควรใช้ภาษาระดับใดมากที่สุด
ก. ภาษาระดับกันเอง
ข. ภาษาระดับกึ่งทางการ
ค. ภาษาระดับไม่เป็นทางการ
ง. ภาษาระดับทางการ
ข้อ ๖ ภาษาที่ใช้ในวงจำกัด ใช้กันในครอบครัว หรือใช้ในสถานที่ที่เป็นส่วนตัว คือ ภาษาระดับใด
ก. ภาษาระดับกันเอง
ข. ภาษาระดับไม่เป็นทางการ
ค. ภาษาระดับกึ่งทางการ
ง. ภาษาระดับทางการ
ข้อ ๗ คำหรือกลุ่มคำใด อยู่ในภาษาระดับเดียวกันทั้งหมด
ก. กระผม รถประจำทาง เธอ
ข. ออกลูก อิฉัน ข้าพเจ้า
ค. หนังสือรับรอง ดิฉัน ตัวเอง
ง. แสตมป์ พวกเรา ดิฉันเอง
ข้อ ๘ ปัจจัยที่กำหนดระดับภาษาในข้อใดมีความสำคัญมากที่สุด
ก. สัมพันธภาพระหว่างบุคคล
ข. สื่อที่ใช้ส่งสาร
ค. โอกาสและสถานที่
ง. ลักษณะของเนื้อหา
ข้อ ๙ ข้อใดควรจะใช้ในการสนทนากับบุคคลซึ่งไม่คุ้นเคยมากที่สุด
ก. สวัสดีครับ ขอสัมภาษณ์หน่อยได้ไหม
ข. รบกวนขอสัมภาษณ์หน่อยนะครับ
ค. ขอโทษค่ะ แผนกเครื่องเขียนอยู่ชั้นไหน
ง. ขอโทษค่ะ แผนกอุปกรณ์เครื่องเขียนอยู่ชั้นไหนคะ
ข้อ ๑๐ ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับกับเรื่องระดับภาษา
ก. ภาษาระดับพิธีการ ใช้ถ้อยคำตรงไปตรงมา มุ่งสู่จุดประสงค์ที่ต้องการโดยเร็ว
ข. ภาษาระดับกึ่งทางการ ผู้ส่งสารและผู้ส่งสารอาจมีการโต้ตอบหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันบ้าง
ค. ภาษาระดับทางการ ใช้ภาษาเป็นทางการ มีความจริงจังโดยตลอด เป็นพิธีรีตอง
ง. ภาษาระดับสนทนา อาจใช้คำคะนองหรือคำภาษากลุ่มในการสื่อสารระหว่างบุคคล
เฉลยข้อสอบ
1. ค 2. ค 3. ข 4. ค 5. ค 6. ก 7. ง 8. ค 9. ง 10. ข

21 กรกฎาคม 2552

บทสรุป ภาษากับการสื่อสาร

สรุป บทที่ ๑ ภาษากับการสื่อสาร
ภาษากับการสื่อสาร
ภาษา หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจของระหว่างมนุษย์ โดยใช้ภาษาในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดไปยังผู้อื่น
ธรรมชาติของภาษา
ภาษาเกิดจากการเรียนรู้ เลียนแบบ ถ่ายทอดจากบุคคลในสังคมเดียวกัน
ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
ภาษามีโครงสร้างเป็นระบบระเบียบ
ภาษาประกอบด้วยเสียงและความหมาย
ภาษากำหนดโดยสังคม
ภาษามีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามความนิยม ตามวัฒนธรรมหรือวิทยาการใหม่ ๆ
ประเภทของภาษา
วัจนภาษา(ภาษาถ้อยคำ) คือ เสียงที่มนุษย์ตกลงกันเพื่อทำหน้าที่แทนมโนภาพ
อวัจนภาษา (ภาษาสัญลักษณ์) คือ กริยาท่าทาง ที่ปรากฏแล้วสามารถสื่อความหมายได้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษากาย
ระดับของภาษา
ระดับของภาษา คือ ความลดหลั่นของถ้อยคำ และการเรียบเรียงคำเพื่อให้เหมาะสมกับ โอกาส สถานที่ กาลเทศะ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร
ภาษาแบบแผน ภาษาระดับนี้ใช้ในการพูดและการเขียนที่เป็นทางการ โดยคำนึงถึงความถูกต้องตามกฏเกณฑ์ระเบียบของภาษา ความสุภาพและมารยาทเป็นประการสำคัญ
ภาษากึ่งแบบแผน ภาษาระดับนี้ใช้ในการพูดและการเขียนที่ไม่เป็นทางการมากนัก คล้ายกับภาษาในระดับแรก แต่ลดความเป็นการเป็นงานลงมา
ภาษาปากหรือภาษากันเอง ภาษาระดับนี้ใช้พูดในชีวิตประจำวันเป็นส่วนใหญ่ ใช้ในวงจำกัด
ภาษาต่ำ ภาษาระดับนี้ถือเป็นคำไม่สุภาพ จัดเป็นคำต่ำ หรือคำหยาบ นิยมพูดระหว่างเพื่อนในวัยเดียวกันและมักใช้เฉพาะที่รโหฐาน ไม่นิยมเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
ภาษามาตรฐาน
เหตุที่ต้องมีการเลือกภาษามาตรฐาน เพราะว่า ในแต่ละประเทศมีภาษาถิ่นต่างๆ มากมายหลายชนิด ด้วยเหตุนี้จำเป็นต้องเลือกภาษาถิ่นใด ถิ่นหนึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในวงราชการ คนไทย จึงเลือก ภาษาถิ่นกรุงเทพมหานคร เป็นภาษามาตรฐาน