23 กรกฎาคม 2552

การเตรียมการพูด



หลักย่อ ๆ สำหรับการเตรียมการพูด

1. จงคิดก่อนว่า จะพูดเรื่องอะไร กรณีที่ผู้เชิญไม่ได้เจาะจงหัวข้อให้จงพูดเรื่องที่เราถนัด เรื่องที่เราสนใจ

ที่สุด หรือเรื่องที่เรารู้ดีที่สุด แต่ก็ต้องมีการเตรียมการพูดอยู่ดี เพื่อเรียงลำดับขั้นตอนการพูด

2. ถ้าผู้เชิญกำหนดหัวข้อมาให้แน่นอน คราวนี้แหละที่จะต้องเตรียมด้วยการเริ่มเขียนหัวข้อไว้ก่อน แล้ว

เรียบเรียงแนวคิดประเด็นเสนอ ขยายความจากหัวข้อนั้น ๆ เป็นลำดับขั้นตอนให้ดี อย่าประมาทว่ารู้ดีแล้ว

3. หลังจากเตรียมหัวข้อ และเรียบเรียงดีแล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำรับตำราหรือสิ่งพิมพ์

ต่าง ๆ โดยเฉพาะตัวเลข วันเดือนปี ชื่อคน หรือชื่อสถานที่ต้องถูกต้องแม่นยำ

4. เมื่อเขียนและเรียบเรียงคำบรรยาย หรือคำปราศรัยเสร็จสิ้นแล้ว ก็ต้องนำมาขัดเกลา หรือตัดทอน ให้

เนื้อความสละสลวย ไม่เยิ่นเย้อหรือห้วนเกินไป เตรียมเหตุผล ข้ออ้างอิง ตัวอย่าง คำคมต่าง ๆ ให้พร้อม เพื่อเพิ่ม

สีสันการบรรยายให้น่าฟัง

5. เสร็จแล้วก็ลองนำมาอ่านดู ออกเสียงดัง ๆ หลาย ๆ เที่ยว จนจำขึ้นใจ ดูว่ามีคำนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุปครบถ้วนไหม

6. การเตรียมการพูด ไม่ใช่การท่องจำ แต่ต้องแม่นในแนวคิด และประเด็นเสนอ อย่าไปจำคำพูดของใคร

มาทั้งดุ้น นอกจากจะหยิบยกคำคม หรือวาทะของบุคคลสำคัญมาประกอบการพูด และควรให้เกียรติท่านเหล่านั้น

ด้วยการเอ่ยชื่อท่านหรือชื่อหนังสือด้วย

นักพูดที่ดี ต้องมีอะไรเป็นของตนเองบ้างในการพูด หากจำเป็นต้องจำคำเขามาพูด ก็ให้คิดดัดแปลงบ้าง

อย่าให้เหมือนกันแบบลอกเอามาทั้งดุ้น นักพูดต้องอ่านมากและฟังมาก

7. จะต้องฝึกหัดพูดคนเดียวหน้ากระจกหลาย ๆ ครั้ง จะวางท่าทางอย่างไร จะใช้ภาษามือให้เหมาะสม

กลมกลืนอย่างไร จะวางสีหน้าอย่างไรถึงจะดูเป็นธรรมชาติ อย่าพยายามใช้มือประกอบ จนขวักไขว่น่าเวียนหัว

จงฝึกซ้อมให้เหมือนกับการขึ้นพูดจริง จับเวลาด้วย เพื่อตัดทอนเพิ่มเติมตามเวลาที่กำหนด ฝึกมากครั้ง

ได้ก็ยิ่งดี จะได้มีความคล่องตัว และมั่นใจมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น